ค้นหาเว็บ

มาทำความรู้จัก ระบบ airlift pump กันเถอะ



ใครผ่านมาอ่านบทความนี้คงจะเกิดจากความสงสัยว่ามันคืออะไร คงไม่มีใครตั้งใจค้นหาเรื่องราวของการทำงานระบบแบบนี้แน่  ที่มาของระบบแอร์ลิฟท์ปั้มนะครับ จุดประสงค์ก็เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าและต้องการสูบน้ำให้ได้ประมาณน้ำได้มากขึ้น หากใครเคยเห็นการเจาะน้ำบาดาลคงจะมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ที่เราเห็นการขุดน้ำบาดาลพอเจอน้ำจะมีแรงดันน้ำสูงขึ้นไปจากพื้นหลายเมตร อันที่จริงแรงดันน้ำที่พุ่งสูงขึ้นไปได้นั้น ก็เพราะหลักการเดียวกันนี้คือใช้ลมอัดลงไปปลายท่อเพื่อผลักดันน้ำและตะกอนให้ไหลออกมาพร้อมกัน เมื่อเจอแหล่งน้ำใต้ดินแล้วก็จะเร่งเครื่องเพื่อขับลมให้ดันน้ำให้สูงขึ้นเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ามีน้ำมากพอและเจอแหล่งน้ำใต้ดิน

การทำงานของระบบแอร์ลิฟท์ปั้มจะใช้แรงดันลมจากปั้มที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำ ก็สามารถดูดน้ำไหลปริมาณมากได้  เนื่องจากปั้มน้ำที่เราเห็นทั่วไปอย่างเช่นปั้มน้ำในบ้านแบบอัตโนมัติจะมีกำลังไฟฟ้าอย่างน้อย 150 w - 400 w หากเราเปิดปั้มน้ำทำงานในระบบอควาโปนิกส์ต้องทำงานตลอด 24 ชม. กำลังไฟฟ้าที่ใช้ จะเป็น (150x24x30)/1000= 108 หน่วย ค่าไฟฟ้าน่าจะเกิน 200 ต่อเดือนตัวอย่างผมใช้ไฟฟ้าอยู่ 90 หน่วยต่อเดือนจะเสียค่าไฟฟ้าสองร้อยกว่าบาทต่อเดือนแล้ว  แต่หากเราใช้ปั้มลมแค่กำลังไฟฟ้า 20w หนึ่งเดือนจะใช้ไฟฟ้า (20x24x30)/1000= 14.4 หน่วย ด้วยกำลังไฟฟ้าเท่านี้ผมไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าเลย เพราะรัฐบาลรับไป 50 หน่วย จะเห็นได้ชัดเจนเลยนะครับต่างกันมาก

การนำระบบนี้ไปใช้กับการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ขนาดพื้นที่ไม่มากเราก็จะใช้ปั้มตู้ปลาแรงดันต่ำแบบทั่วไปที่ขายตามร้านขายปลาสวยงามก็ได้  หากจะนำระบบแอร์ลิฟท์ปั้มไปใช้คงไม่เห็นความแตกต่างสักเท่าไร แต่หากใครที่คิดออกแบบทำเป็นระบบฟาร์มปลูกพื้นที่แปลงผักมากหน่อยต้องการบริหารจัดการน้ำต้องการน้ำไหลปริมาณมาก เช่นอาจจะออกแบบบ่อเลี้ยงปลาแบบหนาแน่น ต้องการน้ำไหลเพื่อถ่ายเทของเสียอย่างรวดเร็วแล้วละก็  ระบบแอร์ลิฟท์ปั้มน่าจะเป็นทางออกที่ดี


แปลงผักในน้ำ  และแบบใช้มีเดียอย่างเช่นไฮโดรตรอน
aquaponics grow pond and hydrotron media

ตัวอย่าง 1
                 มีบ่อเลี้ยงปลาแบบซีเมนต์ขนาด  4x12 สูง 1 เมตร ใส่น้ำเลี้ยงปลาสูง  60cm
                 จะได้ปริมาตรของน้ำเท่ากับ   4x12x0.6= 28.8 ลบ.ม.

                มีบ่อปลูกผักด้วยโฟมลอยน้ำแบบในรูปด้านบน ขนาด 1m x 30m x 0.2m
                มีจำนวน 10 แปลง    จะมีปริมาตรน้ำ  1x30x0.2x10= 60 ลบ.ม.

               มีบ่อพักน้ำสำหรับติดตั้งปั้มน้ำ 2x2x1= 4 ลบ.ม.
ความต้องการแก้ปัญหาเรื่องน้ำของระบบ เราจะคิดที่การไหลเวียนของน้ำที่บ่อปลาอย่างเดียว ต้องการเอาของเสียจากการขับถ่ายของปลาออกในหนึ่งชั่วโมง  บ่อขนาด 28.8 ลบ.ม. ก็ต้องหาปั้มที่มีปริมาณการไหลสูงถึง 28.8ลบ.ม.ต่อชั่วโมง หรือ 480ลิตรต่อนาที ซึ่งปั้มน้ำที่ใช้กับระบบนี้ในท้องตลาดจะใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่า 1000w  แน่นอนว่าไม่คุ้มกับค่าไฟฟ้าที่เสียไปกับการปลูกผักเป็นแน่

แต่หากนำระบบปั้มแบบแอร์ลิฟท์ปั้มไปใช้ก็จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า จากวีดีโอตัวอย่างด้านบนจะใช้ปั้มที่ใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 20w ที่ปริมาณน้ำไหล 15ลบ.ม.ต่อชั่วโมงเท่านั้น การแก้ปัญหาของเราก็ใช้ปั้มลมที่แรงดันลมมากขึ้น 40w ก็จะได้ปริมาณน้ำไหลขึ้นเป็นสองเท่า หรือ 30 ลบ.ม.ก็ได้




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 มีนาคม 2562 เวลา 15:35

    ผมว่าโดยหลักการแล้วควรนำมาใช้ในการสูบแยกตะกอนที่อยู่ก้นบ่อโดยใช้ท่อลมในการทำให้เกิดแรงดูดใต้ผิวน้ำครับ
    ระบบนี้ใช้ในถังบำบัดน้ำเสียที่เมื่อมีตะกอนก้นบ่อก็จะใช้ลมที่เติมอากาศกลับมาช่วยดูดตะกอนในถังกลับไปไว้ในบ่อเกรอะ

    ตอบลบ

สดบันเทิง - อาร์เอสเอส ข่าวสดออนไลน์

ข่าวไทยรัฐออนไลน์ - ข่าวกีฬา