ที่มา: อร่าม คุ้มกลาง, ธรรมนูญ ฤทธิมณี และสาวิตร มีจุ้ย. 2523. ผลการใช้แหนแดงแทนปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตของข้าว.
ใบแหนแดงมีโพรงขนาดเล็กที่เป็นที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabana azollae ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ด้วยภายในเซลล์จะมีเอนไซม์ nitrogenase ซึ่งใช้เหล็ก และโมลิดินั่มสำหรับเป็น cofactors ในปฏิกิริยา พร้อมกัรีดิวซ์ก๊าซไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนีย และเก็บไว้ในเซลล์ และไนโตรเจนที่ตรึงได้นี้กลายเป็นธาตุอาหารสำคัญในการเติบโตของแหนแดง ทำให้แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกับพืชตระกูลถั่วอื่นๆ
แหนแดงที่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม แหล่งอาศัยมีธาตุอาหารสูงจะสามารถเพิ่มจำนวนต้นได้รวดเร็ว โดยในเวลา 30 วัน แหนแดงสามารถเพิ่มจำนวน และเติบโตจนได้ต้นสดได้มากถึง 3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะตรึงไนโตรเจนได้ประมาณ 5-10 กิโลกรัม/ไร่
วีดีโอที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=SIgxVWLguU0
สำหรับนาดำ การใช้แหนแดงจะทำการหว่านแหนแดงก่อนการไถปักดำ ประมาณ 1 เดือน อัตราการหว่านที่ 50 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งระยะนี้จำเป็นต้องมีน้ำขังในแปลงนาตลอด หลังจากนั้น แหนแดงจะเติบโต และขยายจำนวนจนเต็มแปลงนา ก่อนทำการไถเพื่อปักดำต้นข้าว โดยสามารถให้ผลผลิตกว่า 1-3 ตัน/ไร่ หลังจากนั้น เมื่อต้นข้าวเติบโตจึงหว่านแหนแดงอีกรอบ ประมาณ 100 กก./ไร่
2) อร่าม และคณะ (2523) ได้ศึกษาใช้แหนแดงแห้งประมาณ 200 กิโลกรัม/ไร่ (แหนแดงสด 5 กิโลกรัม ตากแห้งเหลือ 300 กรัม) สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนประมาณ 6 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งการทดลองนี้ได้เปรียบเทียบผลผลิตข้าวกับตำรับที่มีการใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 พบว่า นาข้าวที่ใส่แหนแดงจะให้ผลผลิตข้าวประมาณ 612 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนนาข้าวที่ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัม/ไร่ จะให้ผลผลิตข้าวประมาณ 513 กิโลกรัม/ไร่
ข้อเสียของแหนแดง
1. แหนแดงเมื่อเติบโต และแพร่กระจายมากจะมีลำต้นปกคลุมผิวน้ำทั้งผืน ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงท้องน้ำหรือแสงแดดส่องไม่ถึงน้ำ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสง และการเติบโตของพืชใต้ท้องน้ำ รวมถึงทำให้ออกซิเจนละลายน้ำลดลง ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มีสาเหตุสำคัญทำให้สัตว์น้ำจำพวกปลาตายได้ง่าย
2. แหนแดงสามารถเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีไนโตรเจนสูง ทำให้ปกคลุมพื้นผิวน้ำจนทั่ว ส่งผลให้พรรณไม้น้ำชนิดอื่นไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และตายได้ง่าย อีกทั้งเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของแหนแดงออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะอื่น
1. แหนแดงเมื่อเติบโต และแพร่กระจายมากจะมีลำต้นปกคลุมผิวน้ำทั้งผืน ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงท้องน้ำหรือแสงแดดส่องไม่ถึงน้ำ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสง และการเติบโตของพืชใต้ท้องน้ำ รวมถึงทำให้ออกซิเจนละลายน้ำลดลง ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มีสาเหตุสำคัญทำให้สัตว์น้ำจำพวกปลาตายได้ง่าย
2. แหนแดงสามารถเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีไนโตรเจนสูง ทำให้ปกคลุมพื้นผิวน้ำจนทั่ว ส่งผลให้พรรณไม้น้ำชนิดอื่นไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และตายได้ง่าย อีกทั้งเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของแหนแดงออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น