เมื่อต้นปีที่แล้วผมมีความสนใจระบบปลูกพืชแบบอควาโปนิกส์ จึงได้ศึกษางานจากเว็บต่างประเทศ ซึ่งข้อมูลในไทยเรายังมีให้ศึกษาไม่มาก แต่ ณ ปัจจุบันนี้มีตัวอย่างของผู้กล้าหลายท่านเกี่ยวกับระบบอควาโปนิกส์นี้ออกสู่โลกออนไลน์มากมาย แต่งานผมเน้นไปที่การเลี้ยงปลามากกว่า ผักที่ปลูกไว้เพื่อทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียเท่านั้น แต่ระบบของฝรั่งเค้าทำกัน แปลงปลูกผักจะมีพื้นที่มากกว่าบ่อปลา เพื่อที่ผักจะดูดแอมโมเนียจากน้ำออกไปให้มากที่สุด แล้วก็จะได้น้ำดีออกมา
การเลี้ยงปลาสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้นทุนอาหารปลา ทำอย่างไรให้มีต้นทุนต่่ำที่สุด ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงปลาไซส์เล็ก จนโตจะมีขนาดไม่เท่ากันไม่ว่าจะเป็นปลาชนิดไหนก็ตาม และเมื่อจับปลาออกขาย จะเหลือปลาที่โตไม่ทันอีกจำนวนหนึ่ง ก็จะมีผลให้สิ้นเปลืองค่าอาหารเพิ่มขึ้น และโดยส่วนตัวผม เอาเงินลงทุนไปกับการทำบ่อปูนเลี้ยงปลาและพันธุ์ปลาเป็นส่วนใหญ่ ผมจึงได้ศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องอาหารปลา เพื่อลดค่่าใช้จ่าย
การศึกษาวีดีโอเรื่องระบบอควาโปนิกส์ มีตัวอย่างเรื่องการให้อาหารปลาที่ฝรั่งเค้าทำกันก็คือการเลี้ยงแหนเป็ด (Lemna minor L.) สำหรับใช้เลี้ยงปลานิล ซึ่งแหนเป็ดจะมีโปรตีนอยู่เยอะมาก ตั้งแต่ 20 - 40 % เลยทีเดียว มากพอๆ กับโปรตีนที่ผสมมาในอาหารปลาสำเร็จรูป และแหนเป็นพืชที่ลอยน้ำได้จะป้อนให้ปลามากมากน้ำไม่เสีย ยังช่วยบำบัดน้ำเสียจากปลาได้อีกด้วย ผมเคยทดลองให้แหนเป็ดแบบสดประมาณ 70 กก.ในบ่อขนาด 1.5 m x 3 m x 0.5m จำนวน 5 บ่อ ผลปรากฏว่าเพียงหนึ่งสัปดาห์ปลานิลกินเกลี้ยง เทียบกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป จะให้เพียงมื้อละประมาณ 1 กก. จะทยอยให้จนกว่าปลาจะไม่ขึ้นมากิน ถ้าให้มากปลากินไม่หมดอาหารจะลอยอยู่บนผิวน้ำ จนอิ่มตัวแล้วจะตกลงอยู่ใต้บ่อซึ่งปลาจะไม่กิน จนเป็นเหตุน้ำเสีย และเป็นการสิ้นเปลืองด้วย ยังดีที่ระบบของผมน้ำจะไหลวนอยู่ตลอดถึงแม้ไม่ได้ใช้ปั้มอ็อกซิเจนช่วย
ที่ผ่านมาการเลี้ยงปลานิลด้วยแหนของผมก็ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนเรื่องการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกด้วย ได้แต่ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บต่างประเทศ และตัวอย่างในวีดีโอของยูทูปเท่านั้น เนื่องจากแหล่งแหนและสถานที่เลี้ยงยังไม่มีตั้งแต่เริ่ม จะคิดเลี้ยงปลา ตอนนี้ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ควรจะเริ่มหาแหนเป็ดมาเลี้ยงก่อนที่จะเริ่มซื้อปลามาเลี้ยงกันนะครับ ผมนี่วุ่นกับการหาแหล่งแหนและทำบ่อพักอีก ทำงานไปแก้ปัญหาไปครับ ไม่ได้วางแผนหรือศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้าน มันเลยเป็นประสบการณ์ที่ดีของผม แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อยๆ อย่างเมื่อก่อนคิดจะทำบ่อเลี้ยงปลาหากลงทุนซื้ออ่างไฟเบอร์กลาสขนาด 1.5m x 3m x 1m ราคาน่าจะอยู่ที่ 6000 บาทขึ้น ผมก็เลยตัดสินใจทำบ่อปูนขึ้นมา ด้วยพื้นที่แคบขนาด 3m x 20m รถขุดก็เข้าไม่ได้ ผมเลยทำการเทพื้นแล้วก่อผนังบ่อปลาติดกับผนังรั้วเลย เลี้ยงปลามาได้สักระยะหนึ่ง ทุนเรื่องอาหารปลาหมด อย่างที่บอกไปเรื่องการทดลองเลี้ยงแหนเป็ดไป 70 กก. พอแหนหมดก็ไม่มีให้อีก ตอนนั้นเป็นช่วงฤดูฝน แหล่งที่ผมเคยไปตักมาเลี้ยงเค้าก็เอาเป็ดมากินซะเกลี้ยง พอหาเจออีกทีฝนตกหนักแค่คืนเดียวน้ำพาลงแม่น้ำหมด ผมเลยคิดทำบ่อเลี้ยงแหนเพิ่มอีกโดยต่อท่อจากบ่อเลี้ยงปลาเพื่อเอาแหนมาบำบัดน้ำเสียและแหนก็จะใช้เป็นอาหารปลา งานนี้หมดเงินอีกแล้วครับ ตอนนั้นมีทั้งบ่อปลาและบ่อแหนแล้วคิดว่ามันน่าจะลงตัวแล้ว ปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้น ปลาในบ่อหลุดมาอยู่ในบ่อแหน แหนผมก็เริ่มหมดไปเรื่อยๆ ก็เลยไม่ได้ข้อสรุปว่าเลี้ยงด้วยแหนจะใช้เวลานานกี่เดือนถึงจะโต ตลอดทั้งฤดูฝนผมไม่มีแหนให้ปลากินเลย แต่ผมก็คิดหาวิธีทำบ่อเพิ่มอีกสำหรับเลี้ยงแหน บ่อเดิมยังไงก็ไม่พอสำหรับเลี้ยงปลา และหากไปพบแหล่งแหนใหม่อีก ยังไงก็ต้องมีพื้นที่เลี้ยงให้มากกว่าเดิมให้เพียงพอต่อความต้องการของปลา และการผลิตเองขึ้นได้ โดยไม่ต้องไปหาตักจากธรรมชาติมาเพิ่ม ด้วยกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติที่ไม่แน่นอน ตอนนี้บ่อเลี้ยงแหนของผมก็มาลงตัวด้วยการใช้โครงสร้างจากไม้ไผ่ ปูบ่อด้วยพลาสติกปูบ่อ ทำบ่อวางอยู่บนพื้นดินเลย ไม่ต้องขุดดินให้เหนื่อยและเสียค่าใช้จ่ายค่าแรงงานขุดอีก
พูดถึงแต่คำว่าแหนเป็ด บางท่านอาจจะยังไม่รู้จัก เรามาทำความรู้จักแหนเป็ดกันเลยดีกว่านะ ขอดึงข้อมูลมาจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
"แหนเล็ก หรือเรียกโดยทั่วไปว่าแหนเป็ดเล็ก มีโปรตีนประมาณ 20-40% ใยประมาณ 4-6% และยังเป็นพืชที่นิยมนำไปตากแห้งทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หรือผสมในอาหารของสัตว์ เช่น อาหารของเป็ด ห่าน ปลา ไก่ นกกระทา และสุกร เป็นต้น มีผู้ศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเป็ด พบว่า ในระยะเวลา 100 วัน สามารถดูดปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ได้สูงสุดถึง 49.10% ดังนั้น จึงนิยมนำแหนเป็ดเล็กมาใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศ"
สิ่งที่ผู้เขียนสนใจก็คือเจ้าโปรตีนนี่แหละ ที่มากถึง 40% แล้วมีใครสังเกตุไหมว่าทำไมโปรตีนถึงมีค่าไม่คงที่เลยละ..???? ทำไมต้องเป็น 20-40 % ???? (ผมขอตั้งคำถามไว้ให้คิดกันต่อ และเอาไว้เป็นหัวข้อใหม่แล้วกัน)
นอกจากโปรตีนแล้วผู้เขียนก็ยังสนใจเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตด้วย เพราะอะไร??? ก็เพราะว่าความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร ถ้ามีปลาจำนวนมาก แน่นอนว่าแหนเป็ดหมดไวแน่ แต่ถ้าแหนมีมากกว่าปลา ปลากินเท่าไรก็จะไม่มีวันหมด แหนก็จะแพร่ขยายไปเรื่อยๆ จนเต็มบ่อ ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากเวลาจับปลาขึ้นมาขาย แล้วทำยังไงละถึงจะทำให้เกิดความสมดุลในห่วงโซ่อาหารแบบนี้ และจะทำยังไงถึงจะมีแหนเป็ดสำหรับเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี หากจะไปหาจากแหล่งธรรมชาติเพียงอย่างเดียวก็คงไม่สะดวกแน่เลย ในฤดูน้ำหลาก แหนก็ไหลไปกับน้ำ แต่พอเข้าสู่ฤดูแห่งความแห้งแล้ง แหนก็จะตาย เพราะฉะนั้นต้องมีการบริหารจัดการแหนและปลาควบคู่กันไปแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน ด้วยเหตุตรงนี้ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจนพบว่าแหนใช้บำบัดน้ำเสียได้ ซึ่งแหนก็คือเฟิร์นขนาดเล็ก และเฟิร์นก็ดูดของเสียที่เป็นธาตุหนักได้ดีอีกด้วย ในระบบของผมจึงมีพืชดูดสารพิษอย่างเฟิร์นด้วย นั้นก็คือผักกูด ปลูกในโฟมเลยน้ำไว้ ตอนนี้โฟมปลูกผักของผมก็ไม่เหลือแล้วปลาแทะราก ถึง ใบ และโฟมด้วยจนหมด เหลือแต่ต้นผักกูดเพียงอย่างเดียวที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำ ส่วนแหนผมก็เพิ่งจะได้มาเลี้ยงใหม่อีกทีเมื่อกลางเดือนธันวาคม 59 นี่เอง
"แหนเล็ก หรือเรียกโดยทั่วไปว่าแหนเป็ดเล็ก มีโปรตีนประมาณ 20-40% ใยประมาณ 4-6% และยังเป็นพืชที่นิยมนำไปตากแห้งทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หรือผสมในอาหารของสัตว์ เช่น อาหารของเป็ด ห่าน ปลา ไก่ นกกระทา และสุกร เป็นต้น มีผู้ศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเป็ด พบว่า ในระยะเวลา 100 วัน สามารถดูดปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ได้สูงสุดถึง 49.10% ดังนั้น จึงนิยมนำแหนเป็ดเล็กมาใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศ"
สิ่งที่ผู้เขียนสนใจก็คือเจ้าโปรตีนนี่แหละ ที่มากถึง 40% แล้วมีใครสังเกตุไหมว่าทำไมโปรตีนถึงมีค่าไม่คงที่เลยละ..???? ทำไมต้องเป็น 20-40 % ???? (ผมขอตั้งคำถามไว้ให้คิดกันต่อ และเอาไว้เป็นหัวข้อใหม่แล้วกัน)
นอกจากโปรตีนแล้วผู้เขียนก็ยังสนใจเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตด้วย เพราะอะไร??? ก็เพราะว่าความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร ถ้ามีปลาจำนวนมาก แน่นอนว่าแหนเป็ดหมดไวแน่ แต่ถ้าแหนมีมากกว่าปลา ปลากินเท่าไรก็จะไม่มีวันหมด แหนก็จะแพร่ขยายไปเรื่อยๆ จนเต็มบ่อ ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากเวลาจับปลาขึ้นมาขาย แล้วทำยังไงละถึงจะทำให้เกิดความสมดุลในห่วงโซ่อาหารแบบนี้ และจะทำยังไงถึงจะมีแหนเป็ดสำหรับเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี หากจะไปหาจากแหล่งธรรมชาติเพียงอย่างเดียวก็คงไม่สะดวกแน่เลย ในฤดูน้ำหลาก แหนก็ไหลไปกับน้ำ แต่พอเข้าสู่ฤดูแห่งความแห้งแล้ง แหนก็จะตาย เพราะฉะนั้นต้องมีการบริหารจัดการแหนและปลาควบคู่กันไปแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน ด้วยเหตุตรงนี้ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจนพบว่าแหนใช้บำบัดน้ำเสียได้ ซึ่งแหนก็คือเฟิร์นขนาดเล็ก และเฟิร์นก็ดูดของเสียที่เป็นธาตุหนักได้ดีอีกด้วย ในระบบของผมจึงมีพืชดูดสารพิษอย่างเฟิร์นด้วย นั้นก็คือผักกูด ปลูกในโฟมเลยน้ำไว้ ตอนนี้โฟมปลูกผักของผมก็ไม่เหลือแล้วปลาแทะราก ถึง ใบ และโฟมด้วยจนหมด เหลือแต่ต้นผักกูดเพียงอย่างเดียวที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำ ส่วนแหนผมก็เพิ่งจะได้มาเลี้ยงใหม่อีกทีเมื่อกลางเดือนธันวาคม 59 นี่เอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น