ค้นหาเว็บ

ตามรอยเสด็จฯ ตอนที่ 13


ตามรอยเสด็จฯ ตอนที่ 8 "ผักตบชวา เยียวยาบึงน้ำเสีย ที่มักกะสัน"


ตามรอยเสด็จฯ ตอนที่ 1 "โรงเรียน จากพระกรุณาของเจ้าฟ้าชายฯ"


จะเลือกปลูกผักในน้ำแบบระบบไฮโดรโปนิกส์หรือปลูกผักในวัสดุปลูกดี

aquaponics grow bed ถ้าแปลตามตรงก็คือ เตียงปลูก ถ้าลองค้นด้วยประโยคนี้ aquaponics grow bed ก็จะเจอภาชนะปลูกเป็นอ่าง กระบะ สีเหลี่ยมบ้าง ทรงกลม ถ้งผ่าครึ่ง ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน แล้วก็จะมีเม็ดกลมๆ สีอิฐ อยูุ่ภายในและมีท่อพีวีซีอยู่ภายใน และมีอีกประโยคคือ Backyard Aquaponics แปลตามตัวก็จะหมายถึงสวนปลูกผักอควาโปนิกส์  ถ้าค้นด้วยชุดประโยคนี้  Backyard Aquaponics เราก็จะพบกับรูปภาพเหมือนๆ กันคือแปลงปลูกจะเป็นภาชนะสี่เหลี่ยม ทรงกลม ถ้งผ่าครึ่งบ้าง เช่นเดียวกับแบบแรกเพราะมันสื่อได้อย่างเดียวกัน แต่แบบแรกจะตรงตัวกว่าที่จะหมายถึงแปลงปลูกปลูกผัก

แต่จะมีใครเคยสังเกตุไหมครับว่า แปลงปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ทำไมมีทั้งแบบที่ปลูกด้วยโฟมแล้วลอยน้ำ หรือปลูกในท่อแบบระบบไฮโดรโปนิกส์ที่พบเห็นได้บ่อยและการปลูกในแปลงปลูกแบบใช้วัสดุอย่างเช่นเพอไลท์หรือไฮโดรตรอน  ที่จริงระบบอควาโปนิกส์ได้รับการประยุกต์มาจากระบบไฮโดรโปนิกส์ และระบบแอร์โร่โปนิกส์ด้วย (Aeroponics system)    การที่จะปลูกผักแบบลอยน้ำนั้นอาจจะมีข้อจำกัดกับการปลูกผักได้ไม่กี่ชนิดส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันก็จะเป็นผักสลัด ผักแบบลำต้นไม่สูงใบเป็นทรงพุ่ม ลำต้นไม้ล้มง่ายอยู่ตินแผ่นโฟม เลยมีการคิดค้นการปลูกผักชนิดอื่นด้วย อย่างเช่นมะเขือเทศ ที่ต่างประเทศนิยมบริโภคสดกันเยอะ  โดยใช้วิธีการแบบแอร์โรโปนิกส์ คือใช้มีเดีย วัสดุอย่างเช่นไฮโดรตรอนเป็นเครื่องปลูกเพื่อช่วยพยุงลำต้นให้รากยึดแน่น แต่เนื่องจากทำวิธีการนี้ปลูกในท่อเป็นรางนอน เวลารากมีมากขึ้นจะทำให้ไปขวางทางน้ำเกิดการอุดตันขึ้นได้และหากใช้ท่อรางปลูกใหญ่ขึ้นก็จะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และราคาท่อก็สูงขึ้นด้วย จึงมีการประยุกต์ใช้ระบบแอร์โรโปนิกส์โดยใช้การสเปรย์ฝอยไปที่รากของพืช
ดังรูปข้างล่างนี้เป็นการประยุกต์ระบบแอร์โรโปนิกส์ (Aeroponics tower gardening)
http://laurbanfarms.com/wp-content/uploads/2013/10/HowTGworks3.gif



จากภาพผักส่วนใหญ่ก็จะเป็นผักสลัดระบบนี้ก็ยังมีข้อจำกัดเหมือนเดิมคือปลูกพืชแบบยืนต้นไม่ได้  เพราะรากไม่มีอะไรให้ยึดเกาะได้  ต่อให้ใช้กระถางขนาดใหญ่ใส่มีเดียปลูกได้มากๆ ก็ไม่สามารถส่งปุ๋ยไปถึงระบบรากได้เลย จึงจบปัญหาหากต้องการปลูกพืชผักไม้ล้มลุกหรือไม้ยืนต้น อย่างเช่นมะเขือเทศ มะเดือฝรั่งที่เรากำลังฮิตกัน  โดยทำแปลงปลูกแบบใช้มีเดียอย่างไฮโดรตรอนเป็นวัสดุปลูกเพราะเบาและแปลงปลูกก็สามารถระบายน้ำได้ดี อีกทั้งยังสามารถเพิ่มอ็อกซิเจนให้กับรากพืชไปพร้อมกันได้ โดยมีการระบายน้ำออกจากแปลงปลูกได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ Siphon หรือกาลักน้ำ  
ในภาพนี้มีแปลงปลูกแบบใช้รางน้ำสำหรับปลูกสลัด และแปลงด้านขวาสุดนี้ก็จะใช้มีเดียในการปลูก ถ้าทำแบบนี้ได้ไม่ต้องทำโต๊ะก็จะประหยัดงบประมาณได้เยอะครับ
โดยส่วนตัวผมก็สงสัยอยู่ว่าทำไมฝรั่งเค้าไม่เปิดน้ำใส่แบบผ่านน้ำให้ไหลได้ตลอดเวลา  และก็พบคำตอบว่า การที่ระบบเติมน้ำในแปลงปลูกให้สูงระดับหนึ่งแล้วปล่อยน้ำออก ก็เพื่อให้รากพืชที่ปลูกรวมกันได้รับความชื้นโดยทั่ว และขณะที่กาลักน้ำทำงาน Siphon  จะดูดน้ำออกอย่างรวดเร็วและยังดึงอากาศลงไปสู่รากอย่างรวดเร็ว  แปลงผักแบบนี้ผมเคยลองทำแล้วโดยไม่ต้องเพาะต้นกล้า แค่ว่านเมล็ดลงไปเลย ก็ใช้ได้แล้วครับ พอต้นโตก็ย้ายออกปลูกในแปลงอื่นๆ หรือจะให้ต้นโตไปเลยก็ได้ แต่จะเบียดกันตามจำนวนเมล็ดที่ว่าน แต่จะให้ดีก็หยอดเมล็ดลงให้ห่างไว้ก่อนก็ดี เพราะที่ผมทำเพื่อการทดลองเท่านั้น

แนะนำให้ออกแบบแปลงผักอยู่ติดพื้นดินแบบนี้จะดีครับประหยัดไม่ต้องทำโต๊ะรับน้ำหนัก และก็สามารถใช้หินตามลำธารมาใช้งานแทนไฮโดรตรอนหรือเพอร์ไลท์ก็ได้ครับ ผมลงแล้วเวิร์กกว่า เสียเวลาขุดดินทำบ่อพักน้ำนิดหน่อยครับ 

มาทำความรู้จัก ระบบ airlift pump กันเถอะ



ใครผ่านมาอ่านบทความนี้คงจะเกิดจากความสงสัยว่ามันคืออะไร คงไม่มีใครตั้งใจค้นหาเรื่องราวของการทำงานระบบแบบนี้แน่  ที่มาของระบบแอร์ลิฟท์ปั้มนะครับ จุดประสงค์ก็เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าและต้องการสูบน้ำให้ได้ประมาณน้ำได้มากขึ้น หากใครเคยเห็นการเจาะน้ำบาดาลคงจะมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ที่เราเห็นการขุดน้ำบาดาลพอเจอน้ำจะมีแรงดันน้ำสูงขึ้นไปจากพื้นหลายเมตร อันที่จริงแรงดันน้ำที่พุ่งสูงขึ้นไปได้นั้น ก็เพราะหลักการเดียวกันนี้คือใช้ลมอัดลงไปปลายท่อเพื่อผลักดันน้ำและตะกอนให้ไหลออกมาพร้อมกัน เมื่อเจอแหล่งน้ำใต้ดินแล้วก็จะเร่งเครื่องเพื่อขับลมให้ดันน้ำให้สูงขึ้นเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ามีน้ำมากพอและเจอแหล่งน้ำใต้ดิน

การทำงานของระบบแอร์ลิฟท์ปั้มจะใช้แรงดันลมจากปั้มที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำ ก็สามารถดูดน้ำไหลปริมาณมากได้  เนื่องจากปั้มน้ำที่เราเห็นทั่วไปอย่างเช่นปั้มน้ำในบ้านแบบอัตโนมัติจะมีกำลังไฟฟ้าอย่างน้อย 150 w - 400 w หากเราเปิดปั้มน้ำทำงานในระบบอควาโปนิกส์ต้องทำงานตลอด 24 ชม. กำลังไฟฟ้าที่ใช้ จะเป็น (150x24x30)/1000= 108 หน่วย ค่าไฟฟ้าน่าจะเกิน 200 ต่อเดือนตัวอย่างผมใช้ไฟฟ้าอยู่ 90 หน่วยต่อเดือนจะเสียค่าไฟฟ้าสองร้อยกว่าบาทต่อเดือนแล้ว  แต่หากเราใช้ปั้มลมแค่กำลังไฟฟ้า 20w หนึ่งเดือนจะใช้ไฟฟ้า (20x24x30)/1000= 14.4 หน่วย ด้วยกำลังไฟฟ้าเท่านี้ผมไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าเลย เพราะรัฐบาลรับไป 50 หน่วย จะเห็นได้ชัดเจนเลยนะครับต่างกันมาก

การนำระบบนี้ไปใช้กับการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ขนาดพื้นที่ไม่มากเราก็จะใช้ปั้มตู้ปลาแรงดันต่ำแบบทั่วไปที่ขายตามร้านขายปลาสวยงามก็ได้  หากจะนำระบบแอร์ลิฟท์ปั้มไปใช้คงไม่เห็นความแตกต่างสักเท่าไร แต่หากใครที่คิดออกแบบทำเป็นระบบฟาร์มปลูกพื้นที่แปลงผักมากหน่อยต้องการบริหารจัดการน้ำต้องการน้ำไหลปริมาณมาก เช่นอาจจะออกแบบบ่อเลี้ยงปลาแบบหนาแน่น ต้องการน้ำไหลเพื่อถ่ายเทของเสียอย่างรวดเร็วแล้วละก็  ระบบแอร์ลิฟท์ปั้มน่าจะเป็นทางออกที่ดี


แปลงผักในน้ำ  และแบบใช้มีเดียอย่างเช่นไฮโดรตรอน
aquaponics grow pond and hydrotron media

ตัวอย่าง 1
                 มีบ่อเลี้ยงปลาแบบซีเมนต์ขนาด  4x12 สูง 1 เมตร ใส่น้ำเลี้ยงปลาสูง  60cm
                 จะได้ปริมาตรของน้ำเท่ากับ   4x12x0.6= 28.8 ลบ.ม.

                มีบ่อปลูกผักด้วยโฟมลอยน้ำแบบในรูปด้านบน ขนาด 1m x 30m x 0.2m
                มีจำนวน 10 แปลง    จะมีปริมาตรน้ำ  1x30x0.2x10= 60 ลบ.ม.

               มีบ่อพักน้ำสำหรับติดตั้งปั้มน้ำ 2x2x1= 4 ลบ.ม.
ความต้องการแก้ปัญหาเรื่องน้ำของระบบ เราจะคิดที่การไหลเวียนของน้ำที่บ่อปลาอย่างเดียว ต้องการเอาของเสียจากการขับถ่ายของปลาออกในหนึ่งชั่วโมง  บ่อขนาด 28.8 ลบ.ม. ก็ต้องหาปั้มที่มีปริมาณการไหลสูงถึง 28.8ลบ.ม.ต่อชั่วโมง หรือ 480ลิตรต่อนาที ซึ่งปั้มน้ำที่ใช้กับระบบนี้ในท้องตลาดจะใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่า 1000w  แน่นอนว่าไม่คุ้มกับค่าไฟฟ้าที่เสียไปกับการปลูกผักเป็นแน่

แต่หากนำระบบปั้มแบบแอร์ลิฟท์ปั้มไปใช้ก็จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า จากวีดีโอตัวอย่างด้านบนจะใช้ปั้มที่ใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 20w ที่ปริมาณน้ำไหล 15ลบ.ม.ต่อชั่วโมงเท่านั้น การแก้ปัญหาของเราก็ใช้ปั้มลมที่แรงดันลมมากขึ้น 40w ก็จะได้ปริมาณน้ำไหลขึ้นเป็นสองเท่า หรือ 30 ลบ.ม.ก็ได้




สดบันเทิง - อาร์เอสเอส ข่าวสดออนไลน์

ข่าวไทยรัฐออนไลน์ - ข่าวกีฬา