ค้นหาเว็บ

ว่านสบู่เลือด. สมุนไพรต้านมะเร็ง

        ประมาณเกือบสิบปีก่อน ผมมีความสนใจกล้วยไม้ป่า เฟิร์นและมอสส์ เลยเข้าป่าสำรวจ ได้มีโอกาสพันธุ์ไม้แปลกตามากมาย แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักเสียเลย นอกจากกล้วยไม้ เฟิร์น และมอสส์บางชนิดเท่านั้นที่ได้ศึกษาเองจากหน้าเว็บ พอได้หาข้อมูลในเว็บไซต์มาช่วงหนึ่งก็ได้มารู้จักสมุนไพรสบู่เลือด เห็นแค่รูปในเว็บเท่านั้น แต่ในช่วงเดินป่าก็เห็นผ่านตาอยู่บ้างเลยรีบขึ้นเขาในเย็นวันนั้นเลย เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจกันไปเลย พร้อมกับได้นำลงมาปลูก สบู่เลือดที่ผมได้ไปพบเห็นเขาจะขึ้นอยู่บริเวณหินผา ไม่ลาดเอียงมากนัก มีร่ม ชอบอยู่ริมน้ำตก ทุกวันนี้ก็น่าจะมีอยู่ที่เดิม ผมแบ่งมาแค่สองหัว  คิดว่าน่าจะยังไม่มีใครไปเห็น เพราะเท่าที่สอบถาม ผู้คนที่หาของป่า ส่วนใหญ่จะบอกว่าอยู่เขาสูง แถวบ้านผมจะมีอยู่ที่หนึ่งคือจุดที่เรียกว่าสวนเมี่ยง ที่หมายถึงกัน ผมเองก็เคยไปเจอ หัวใหญ่มากแบกมาไม่ไหว

สบู่เลือด (ชื่อวิทยาศาสตร์Stephania venosa (Blume) Spreng)  Curt Polycarp Joachim Spreng 1827

จากชื่อวิทยาศาสตร์ผมได้คำสำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม "Stephania venosa " เริ่มจากเว็บ wikipedia เพื่อตรวจสอบดูก่อนว่าสมุนไพรชนิดนี้อยู่ในวงศ์สกุลอะไร มีชนิดอื่นอีกไหม นอกจากไทยบ้านเรา น่าจะมีต่างประเทศด้วย เพราะเฉพาะที่ไทยเรามีทั้งตัวผู้และตัวเมีย  และแล้วก็ได้คำตอบของไทยเราถูกค้นพบ ตั้ง 15 ชนิด ทางตอนเหนือของประเทศ (15 Stephania found only in northern Thailand, specifically in the area around Chiang Rai)
และพืชชนิดนี้ถูกค้นพบในไทย 18  ชนิดจากทั้งหมดในกลุ่มนี้ 45 ชนิด

ข้อมูลอ้างอิง http://archive.is/8BUpV#selection-1787.0-1787.24
  1. Stephania crebra Lewis Leonard Forman
  2. Stephania tomentella Lewis Leonard Forman
  3. Stephania suberosa Lewis Leonard Forman 1980   บอระเพ็ดพุงช้าง
    1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      1. มีหัวกลม โผล่พ้นดิน โคนต้นมีเปลือกแข็ง ปลายยอดเรียบและเหี่ยวแห้งในฤดูแล้ง ใบเดี่ยว ช่อดอกแยกเพศ ออกที่ซอกใบ ผลสดกลมมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม กระจายตามเขาหินปูนในภาคตะวันตก พบครั้งแรกในประเทศไทยที่เขาหินปูนที่บ้านวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี
  4. Stephania tuberosa  Lewis Leonard Forman 2007
  5. Stephania venosa (Blume) Spreng)  1827  สบู่เลือด
    1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        1. ใบ ใบจะกลม ขนาด 3-4 นิ้ว มีปลายแหลมก้นปิด ท้องใบมีสีเขียวอ่อนๆ
        2. หัว มีขนาดกลมใหญ่จนถึงขนาดใหญ่มาก เปลือกหัวมีสีน้ำตาล
        3. ลำต้น ลำต้นบนดินมีอายุปีเดียว งอกมาจากหัวใต้ดินขนาดใหญ่
        4. ยาง ตัวเมียจะไม่มียางสีแดง ส่วนตัวผู้จะมีสีแดง
        5. ดอกช่อ แยกเพศช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีส้ม ส่วนช่อดอกเพศเมียอัดแน่นมากกว่า ผลเป็นผลสดรูปไข่กลับ
        6. เมล็ด เมล็ดจะสุกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ของทุกปี
        7. เนื้อใน มีสีขาวนวล
        8. รสชาติ มันและฟาดเล็กน้อย
      • ชนิดตัวเมีย ใบสีเขียว ก้านและเถาสีเขียว ดอกสีเขียวอมขาว มียางแดง ๆ จาง ๆ เหมือนน้ำเหลือง หัวกลมเล็ก เนื้อสีเหลืองอ่อน ผิวเรียบ
        ชนิดตัวผู้ ใบสีเขียวอมแดง ก้านและเถาอ่อน มีสีม่วงแดง หัวกลมโต ผิวขรุขระ ยางสีแดงเข้ม เนื้อสีเหลืองเข้ม เมื่อตากแห้งจะเป็นสีแดง
  6. Stephania glandulifera Miers  เถ้าก้นปิด
  7. Stephania erecta William Grant Craib 1922    บัวบกหัว หรือ บัวบก
    1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]
      1. บัวบกหัว เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน มีก้านโผล่พ้นดินไม่สูงนัก
      2. ใบ คล้ายใบบัวบก แต่ใบแข็ง ใบรูปเกือบกลม บางครั้งมีขนขนาดเล็กที่ใบ
      3. ดอกเพศผู้เป็นช่อติดที่ซอกใบ ก้านช่อดอกเรียว กลีบรองกลีบย่อย 4 หรือ 5 กลีบ สีเหลือง กลีบดอกเชื่อมรวมกับเกสร ไม่มีก้านดอก หรือก้านสั้นมาก
      4. ดอกเพศเมียไม่ปรากฏลักษณะ ผลมีเนื้อรูปเกือบกลม เมล็ด เป็นเมล็ดแบบมีเปลือกแข้ง
      5. หัว มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีรสขมมัน
  8. Stephania reticulata  Lewis Leonard Forman  ตับเต่า
    1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      1. ปลายใบกลม โคนเว้าเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบ หลังใบมีสีเขียวออกสีนวล ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้สีเข้ม ล้อมเกสรตัวเมียอยู่กลางดอก ผลเดี่ยว ผิวเรียบ แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมแดงหรือสีดำ ผลใช้เป็นอาหารสัตว์
  9. Stephania kerrii Craib
  10. Stephania subpeltata H.S. Lo
  11. Stephania rotunda Lour.
  12. Stephania papillosa Craib
  13. Stephania oblata Craib
  14. Stephania hernandiifolia (Willd.) Walp.
  15. Stephania japonica var. discolor (Blume) Forman
  16. Stephania elegans Hook.f. & Thoms.
  17. Stephania capitata (Blume) Spreng. 
  18. Stephania brevipes Craib
  19.  Stephania pierrer วงศ์ Menisspermaceae บัวกือหรือเปล้าเลือดเครือ
    1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
      1. ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินเปลือกสีดำ เนื้อสีขาว ลำต้นเป็นเถาเลื้อย แตกรากและใบตามข้อ ใบเดี่ยว รูปกลมรี โคนก้านใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านใบขนาดเล็ก ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกย่อยสีม่วง ผลแห้งแบบแก่แล้วแตก ใบสดหรือทั้งต้นคั้นน้ำทาแผลแก้ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ได้ยินมาแค่ว่าสบู่เลือดมีตัวผู้ ตัวเมียแต่พอค้นหาจริง ได้มามากกกว่าที่คิดเยอะมาก

การปลูก
  วิธิการปลูกของผมจะมี 2 แบบ
1. ใช้หัววางไว้กับดินโดยไม่ต้องฝัง เค้าจะเกิดรากแทงลงไปในดินได้เอง หรือจะใช้หิน กรวด อะไรแบบนี้ก็ได้ เลียนแบบธรรมชาติ
2. ราก ขนาดเท่าหัวแม่มือ แบบนี้ใครหลายคนอาจจะงง  คือถ้าเราขุดหัวขึ้นมารากที่เกิดมาก่อนจะมีขนาดใหญ่แล้วจะกลายเป็นหัวที่ใหญ่ขึ้นผมยังเรียกส่วนนี้ว่าเป็นราก จะมีรากแบบนี้อยู่หลายอัน ซึ่งรากแบบนี้จะมีอาหารสะสมอยู่ แค่นำส่วนที่แหลมเสียบลงดิน ก็จะได้ต้นใหม่แล้วครับ

เวลาผ่านไป  เมื่อสิบปีก่อน ข้อมูลในเว็บยังมีไม่มาก สรรพคุณที่ผมนำมาลงนี้เมื่อก่อนยังมีไม่ถึงสิบข้อเลย และในอนาคตอีกไม่เกินสิบปี สรรพคุณของสบู่เลือดน่าจะมีมากกกว่านี้ อาจจะถึงขั้นการนำสบู่เลือดไปรักษามะเร็งอย่างจริงจัง  แต่ ณ ปัจจุบันนี้ 2560 เรามาดูสรรพคุณที่น่าสนใจกันเลย

สรรพคุณของว่านสบู่เลือด
  1. หัวว่านสบู่เลือด นำมาดองกับเหล้ากินเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยทำให้กระชุ่มกระชวย สุขภาพแข็งแรง(หัว[1],[4],[6], หัว[9])
  2. หัวมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำหนัด (หัว)[1],[4],[6],[9]
  3. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย (ใบ)[9]
  4. หัวนำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนไว้กินเป็นยาอายุวัฒนะ (หัว)[1],[6] 
  5. รากช่วยบำรุงประสาท บำรุงเส้นประสาท ป้องกันโรคความจำเสื่อม (ราก, ใบ)[1],[6],[9]
  6. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้ไมเกรน (หัว)[6],[7]
  7. หัวใช้ผสมกับยาสมุนไพรอื่น ๆ (ไม่ระบุ) มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน (หัว)[8]
  8. มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาใช้เป็นยาป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากกระท่อมเลือดมีสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholine esterase ทั้งยังพัฒนาเพื่อใช้เป็นยาต้านมะเร็งอีกด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
  9. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (หัว)[1]
  10. ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[9]
  11. ช่วยรักษาอาการผอมแห้ง (หัว)[4] ด้วยการใช้หัวนำมาต้มอาบหรือต้มกินเป็นยาบำรุงของสตรี แก้อาการผอมแห้ง หน้าตาซีดเซียวไม่มีน้ำมีนวล ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงได้ แต่การใช้สมุนไพรชนิดนี้ต้องระมัดระวังสักหน่อยหากนำมาใช้กับสตรี (หัว)[8]
  12. ช่วยรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ (หัว)[6])
  13. ช่วยรักษาโรคหัวใจ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
  14. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (หัว)[6],[8]
  15. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง คนเลือดจางหรือเลือดน้อยให้ใช้หัวนำมาต้มกิน (หัว)[6],[7]
  16. ช่วยแก้เลือดลม ช่วยลดความดันโลหิต (หัว)[8]
  17. ช่วยแก้ปอดพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
  18. ช่วยกระจายลมที่แน่นในอก (เถา, ต้น)[6],[9]
  19. ช่วยรักษาโรคลมชักหรือลมบ้าหมู โดยในตำราพระเทพระบุว่าให้ใช้สมุนไพรสบู่เลือดที่มีสีแดงเรื่อ ๆ (สีขาวไม่ใช้) ประมาณ 3 กิโลกรัมขึ้นไปเพื่อความเข้มข้นของยา นำหัวมาหั่นเป็นแว่น ๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นนำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้กินก่อนอาหารเช้า เที่ยง และเย็น กินไปประมาณ 4-6 ปีอาการจะหายขาด (หัว)[4]
  20. หัวใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ ลดไข้ของเด็กได้ (หัว, ราก)[3],[9]
  21. เปลือกและใบใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้มาลาเรียได้ (เปลือก, ใบ)[5]
  22. ช่วยแก้หอบหืด ด้วยการใช้หัวนำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว, ราก)[3],[9]
  23. หัวใช้ดองกับเหล้ากินช่วยขับเสมหะ (หัว)[6] 
  24. ส่วนหนามของว่านสบู่เลือดช่วยแก้เสมหะในคอและทรวงอก (ต้น, หนาม)[9]
  25. ช่วยแก้บิด (หัว, ราก)[9]
  26. ช่วยขับผายลม (หัว)[6],[9]
  27. ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก[6], ผล[9])
  28. ช่วยทำให้อุจจาระละเอียด (ดอก)[9]
  29. เถานำมาต้มกินเป็นยาขับพยาธิในลำไส้ (เถา)[1],[4],[6],[9]
  30. ดอกว่านสบู่เลือดช่วยฆ่าแม่พยาธิอันเกิดจากโรคเรื้อนและกุฏฐัง (ดอก)[9]
  31. หนามของว่านสบู่เลือดช่วยแก้โลหิตอันเน่าในท้องในตกใน (หนาม)[9]
  32. เถาใช้ปรุงเป็นยาขับโลหิตระดูของสตรีได้ (เถา)[4],[6],[9]
  33. ช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรี แก้มุตกิดระดูขาวหรือตกขาวได้อย่างชะงัด ด้วยการใช้หัวสบู่เลือดสด ๆ นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ สัก 3-4 แว่นตำละเอียด ผสมรวมกับน้ำซาวข้าวหรือเหล้าขาว 40 ดีกรี แล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำมากิน 1 ถ้วยชา ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (หัว)[4]
  34. หัวใช้ต้มกิน ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรีได้ (หัว)[7]
  35. ใบสามารถนำมาใช้รักษาแผลสดและแผลเรื้อรังได้ (ใบ)[1],[2],[6],[9]
  36. ใบใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มอบไอน้ำ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคันตามตัวได้ (ใบ)[5]
  37. ช่วยแก้โรคผิวหนังมีผื่นคัน (ดอก)[6],[9]
  38. ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อนและหิด (ดอก, ใบ, ต้น, ราก)[9]
  39. ช่วยแก้โรคเรื้อนใหญ่ เรื้อนน้อย (ใบ, ต้น, ราก)[9]
  40. ช่วยแก้โรคมือเท้าไม่มีกำลังได้ (ต้น)[9]
  41. เถาและก้านนำมาใช้ดองกับสุรากิน จะช่วยทำให้ผิวหนังชา ผิวอยู่ยงคงกระพันเฆี่ยนตีไม่แตก นักเลงสมัยโบราณนิยมกันมากทั้งนำมากินและนำมาทา (เถา, ก้าน)[4],[8]
  42. น้ำยางสีแดงสามารถนำมาใช้เป็นหมึกเพื่อใช้สักยันต์ตามตัวเพื่อทำให้หนังเหนียวได้ (น้ำยางสีแดง)[8]
  43. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้หัวสบู่เลือดฝานบาง ๆ ประมาณ 2 กำมือ นำมาดองกับเหล้าขาว 1 ขวด แล้วเติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดองทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้วเป๊ก ก่อนอาหาร 3 มื้อและช่วงก่อนนอน (หัว)[4]

ที่มา: สรรพคุณ https://medthai.com 
ข้อมูลอ้างอิง  

สดบันเทิง - อาร์เอสเอส ข่าวสดออนไลน์

ข่าวไทยรัฐออนไลน์ - ข่าวกีฬา