ค้นหาเว็บ

แหนแดงสำหรับปุ๋ยในนาข้าว

ที่มา: อร่าม คุ้มกลาง, ธรรมนูญ ฤทธิมณี และสาวิตร มีจุ้ย. 2523. ผลการใช้แหนแดงแทนปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตของข้าว.
ใบแหนแดงมีโพรงขนาดเล็กที่เป็นที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabana azollae ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ด้วยภายในเซลล์จะมีเอนไซม์ nitrogenase ซึ่งใช้เหล็ก และโมลิดินั่มสำหรับเป็น cofactors ในปฏิกิริยา พร้อมกัรีดิวซ์ก๊าซไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนีย และเก็บไว้ในเซลล์ และไนโตรเจนที่ตรึงได้นี้กลายเป็นธาตุอาหารสำคัญในการเติบโตของแหนแดง ทำให้แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกับพืชตระกูลถั่วอื่นๆ
แหนแดงที่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม แหล่งอาศัยมีธาตุอาหารสูงจะสามารถเพิ่มจำนวนต้นได้รวดเร็ว โดยในเวลา 30 วัน แหนแดงสามารถเพิ่มจำนวน และเติบโตจนได้ต้นสดได้มากถึง 3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะตรึงไนโตรเจนได้ประมาณ 5-10 กิโลกรัม/ไร่
วีดีโอที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=SIgxVWLguU0
สำหรับนาดำ การใช้แหนแดงจะทำการหว่านแหนแดงก่อนการไถปักดำ ประมาณ 1 เดือน อัตราการหว่านที่ 50 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งระยะนี้จำเป็นต้องมีน้ำขังในแปลงนาตลอด หลังจากนั้น แหนแดงจะเติบโต และขยายจำนวนจนเต็มแปลงนา ก่อนทำการไถเพื่อปักดำต้นข้าว โดยสามารถให้ผลผลิตกว่า 1-3 ตัน/ไร่ หลังจากนั้น เมื่อต้นข้าวเติบโตจึงหว่านแหนแดงอีกรอบ ประมาณ 100 กก./ไร่
2) อร่าม และคณะ (2523) ได้ศึกษาใช้แหนแดงแห้งประมาณ 200 กิโลกรัม/ไร่ (แหนแดงสด 5 กิโลกรัม ตากแห้งเหลือ 300 กรัม) สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนประมาณ 6 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งการทดลองนี้ได้เปรียบเทียบผลผลิตข้าวกับตำรับที่มีการใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 พบว่า นาข้าวที่ใส่แหนแดงจะให้ผลผลิตข้าวประมาณ 612 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนนาข้าวที่ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัม/ไร่ จะให้ผลผลิตข้าวประมาณ 513 กิโลกรัม/ไร่
ข้อเสียของแหนแดง
1. แหนแดงเมื่อเติบโต และแพร่กระจายมากจะมีลำต้นปกคลุมผิวน้ำทั้งผืน ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงท้องน้ำหรือแสงแดดส่องไม่ถึงน้ำ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสง และการเติบโตของพืชใต้ท้องน้ำ รวมถึงทำให้ออกซิเจนละลายน้ำลดลง ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มีสาเหตุสำคัญทำให้สัตว์น้ำจำพวกปลาตายได้ง่าย
2. แหนแดงสามารถเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีไนโตรเจนสูง ทำให้ปกคลุมพื้นผิวน้ำจนทั่ว ส่งผลให้พรรณไม้น้ำชนิดอื่นไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และตายได้ง่าย อีกทั้งเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของแหนแดงออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะอื่น

ฝรั่งทึ่ง ‘แหนไทย’ ชี้เป็น ‘ซุปเปอร์ฟู้ด’ ในอนาคต



ศาสตราจารย์ แกร์ฮาร์ด ยาห์รีส นักวิชาการจากสถาบันโภชนาการแห่งมหาวิทยาลัยฟรีดริค ชิลเลอร์ เจนา ในเมืองเจนา ประเทศเยอรมนี เปิดเผยผลศึกษาวิจัยน่าทึ่งเกี่ยวกับคุณสมบัติเชิงโภชนาการของ “ดัควีด” หรือ “แหน” พืชน้ำที่พบเห็นทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
ในฐานะนักโภชนาการ ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า แหน อาจทำหน้าที่เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของอาหารในอนาคตสำหรับมนุษยชาติ ทั้งสามารถนำมาใช้โดยตรงอย่างเช่น ผสมในซุป, แกง, เป็นส่วนผสมของไข่เจียวและสลัด หรือนำไปทำเป็นอาหารแปรรูปได้
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า จากการศึกษาทั้งของตนเองและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันรวมถึงชาวอินเดียหลายคน เชื่อว่าดัควีดหลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก มีโปรตีนอยู่สูงในระดับเดียวกับถั่วทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งเมล็ดลูพิน (พืชในวงศ์ถั่ว มีทั้งที่เป็นไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ออกผลเป็นฝัก) และเมล็ดเรพ (ในไทยเรียกผักกาดก้านขาว หรือผักกาดมูเซอ เมล็ดมาสกัดน้ำมันสำหรับทำสบู่, น้ำมันหล่อลื่น) โดย มีสัดส่วนของโปรตีนสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณเมื่ออบแห้ง ทั้งยังมีกรดไขมัน โอเมกา-3 ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพสูงในหลายด้าน ตั้งแต่ลดอาการอักเสบไปจนถึงลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ และลดอาการหอบหืดในเด็กอีกด้วย
นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว แหนยังมีคุณสมบัติด้านการรักษาอีกด้วย โดยศาสตราจารย์ยาห์รีสชี้ว่าตัวแหนเองนั้นมีคุณสมบัติสามารถดูดซับจุลธาตุ (ธาตุขนาดเล็กกว่ามีความเข้มข้นเฉลี่ยน้อยกว่า 100 อะตอมต่อล้านอะตอมของส่วนผสมทั้งหมด) ที่เจือปนอยู่ในน้ำได้ ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ จากการเป็นพิษของภาวะทุพโภชนาการได้ โดยต้นทุนต่ำและทำได้ง่ายอีกด้วย
ข้อดีอีกประการของดัควีดหรือแหนก็คือสามารถเพาะปลูกได้ในน้ำโดยตรง ขยายตัวได้รวดเร็วมาก ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีที่ดินสำหรับใช้ในการเพาะปลูกเพิ่มเติม ซึ่งศาสตราจารย์ยาห์รีสบอกว่าทำให้แหนกลายเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ สำหรับการใช้เป็นแหล่งอาหารในหลายพื้นที่ซึ่งที่ดินเพื่อการเกษตรลดน้อยลง เช่นเดียวกับที่จะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีค่าในอนาคต
ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า ในเวลานี้มีโครงการริเริ่มเพื่อการผลิตแหนในระดับอุตสาหกรรมขึ้นแล้วในบางพื้นที่ อาทิ อิสราเอลและเนเธอร์แลนด์ แต่โครงการดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แหนเป็นอาหาร แต่เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลเท่านั้น
ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิจัยแหนเพราะสังหรณ์ว่าพืชน้ำชนิดนี้น่าจะเป็นแหล่งโปรตีนและกรดไขมัน โอเมกา-3 สำหรับเป็นอาหารระดับ “ซุปเปอร์ฟู้ด” ของมนุษย์ในอนาคตได้ และผลก็ปรากฏเช่นนั้นจริง
ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนขนานนามแหนว่าเป็น “เครื่องจักรสีเขียว” หรือ “กรีน แมชชีน” ในการต่อสู้กับความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการของโลกในอนาคต

การเลี้ยงแหนเป็ด แหนแดง 👉 How to growth duckweed??

👉 การเลี้ยงแหน เท่าที่เห็นในเว็บหลายแห่งจะใช้ท่อคอนกรีต ต้องใส่ดินรองก้นบ่อ แล้วต้องใส่มูลสัตว์ บางท่านก็จะใส่ปุ๋ยเคมี  ต้องวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำด้วย มูลสัตว์อย่างขี้หมู ขี้วัว จะมีความเป็นกรดสูง ซึ่งต้องมีการพักน้ำไว้ก่อน ถึงจะเอาแหนลงไปเลี้ยงได้ ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นการยุ่งยาก เป็นการเพิ่มภาระงานอีก
สำหรับผู้เขียนแล้วมีวิธีที่สุดแสนจะง่าย ไม่ต้องเตรียมดิน ไม่ต้องใช้มูลสัตว์ ไม่ต้องเตรียมสารเคมีใดๆ เพราะเราจะนำแหนมาใช้กับระบบอควาโปนิกส์อยู่แล้วเพื่อทำหน้าที่ดูดเอาปุ๋ยแอมโมเนียในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อปลาของเราออกไป แล้วเอาน้ำดีไปเลี้ยงปลาต่อไป  ผู้เขียนเลยคิดเอาบ่อแหนไว้ในระบบอควาโปนิกส์นี้ด้วยเลย
บ่อคอนเซ็ปท์ของผมที่เริ่มทำ
     
บ่อที่ทำสำเร็จและทดลองใช้งานมาแล้วตั้งแต่เมษายน59
พื้นที่ด้านบนจะรกเลยละครับ เอาโรงเรือนกล้วยไม้มาทำบ่อเลี้ยงปลา
                 น้ำจากบ่อปลาจะมีทั้งตะกอน ดิน ขี้ปลา เศษไม้ รากพืช อย่างผมเองเลี้ยงผักตบไว้บำบัดน้ำและเป็นร่มเงาให้กับปลา จะมีรากผักตบจมอยู่ใต้น้ำด้วย น้ำจะดูดใส่ในบ่อกรอง กรองแบบวนให้ตะกอนตกไปยังพื้นบ่อกรอง แล้วเอาน้ำกรองเสร็จแล้วไปเลี้ยงแหน และแปลงปลูกผัก เพียงเท่านี้ครับ                           กระบวนการนำน้ำไปสู่บ่อแหน ตอนนี้ผมจะถ่ายเทน้ำเพียงอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น น้ำในบ่อปลาไม่ต้องทิ้งให้เปล่าประโยชน์ นำมาเลี้ยงแหน และน้ำที่บำบัดด้วยแหนก็ถ่ายกลับไปลงบ่อปลา งานผมตอนนี้ยังเป็นแมนนวลอยู่ ผมได้ทำบ่อดินเพิ่มอีก 3 บ่อเอาไว้แก้ปัญหาการเลี้ยงปลาตอนฤดูหนาว อนาคตยังต้องทำบ่อแหนเพิ่ม บ่อพักน้ำเพื่อดึงเอาน้ำจากบ่อปลามารวมยังบ่อพัก และบ่อกรองสำหรับระบบใหญ่ทำการดูดน้ำขึ้นมากรองแล้วก็วนไปปลูกพืช เลี้ยงแหน มีระบบตั้งเวลาควบคุมการทำงานของปั้มให้เป็นเวลา และน้ำเลี้ยงปลาน่าจะมีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม

             

สดบันเทิง - อาร์เอสเอส ข่าวสดออนไลน์

ข่าวไทยรัฐออนไลน์ - ข่าวกีฬา