จะเลือกปลูกผักในน้ำแบบระบบไฮโดรโปนิกส์หรือปลูกผักในวัสดุปลูกดี
aquaponics grow bed ถ้าแปลตามตรงก็คือ เตียงปลูก ถ้าลองค้นด้วยประโยคนี้ aquaponics grow bed ก็จะเจอภาชนะปลูกเป็นอ่าง กระบะ สีเหลี่ยมบ้าง ทรงกลม ถ้งผ่าครึ่ง ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน แล้วก็จะมีเม็ดกลมๆ สีอิฐ อยูุ่ภายในและมีท่อพีวีซีอยู่ภายใน และมีอีกประโยคคือ Backyard Aquaponics แปลตามตัวก็จะหมายถึงสวนปลูกผักอควาโปนิกส์ ถ้าค้นด้วยชุดประโยคนี้ Backyard Aquaponics เราก็จะพบกับรูปภาพเหมือนๆ กันคือแปลงปลูกจะเป็นภาชนะสี่เหลี่ยม ทรงกลม ถ้งผ่าครึ่งบ้าง เช่นเดียวกับแบบแรกเพราะมันสื่อได้อย่างเดียวกัน แต่แบบแรกจะตรงตัวกว่าที่จะหมายถึงแปลงปลูกปลูกผัก
แต่จะมีใครเคยสังเกตุไหมครับว่า แปลงปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ทำไมมีทั้งแบบที่ปลูกด้วยโฟมแล้วลอยน้ำ หรือปลูกในท่อแบบระบบไฮโดรโปนิกส์ที่พบเห็นได้บ่อยและการปลูกในแปลงปลูกแบบใช้วัสดุอย่างเช่นเพอไลท์หรือไฮโดรตรอน ที่จริงระบบอควาโปนิกส์ได้รับการประยุกต์มาจากระบบไฮโดรโปนิกส์ และระบบแอร์โร่โปนิกส์ด้วย (Aeroponics system) การที่จะปลูกผักแบบลอยน้ำนั้นอาจจะมีข้อจำกัดกับการปลูกผักได้ไม่กี่ชนิดส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันก็จะเป็นผักสลัด ผักแบบลำต้นไม่สูงใบเป็นทรงพุ่ม ลำต้นไม้ล้มง่ายอยู่ตินแผ่นโฟม เลยมีการคิดค้นการปลูกผักชนิดอื่นด้วย อย่างเช่นมะเขือเทศ ที่ต่างประเทศนิยมบริโภคสดกันเยอะ โดยใช้วิธีการแบบแอร์โรโปนิกส์ คือใช้มีเดีย วัสดุอย่างเช่นไฮโดรตรอนเป็นเครื่องปลูกเพื่อช่วยพยุงลำต้นให้รากยึดแน่น แต่เนื่องจากทำวิธีการนี้ปลูกในท่อเป็นรางนอน เวลารากมีมากขึ้นจะทำให้ไปขวางทางน้ำเกิดการอุดตันขึ้นได้และหากใช้ท่อรางปลูกใหญ่ขึ้นก็จะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และราคาท่อก็สูงขึ้นด้วย จึงมีการประยุกต์ใช้ระบบแอร์โรโปนิกส์โดยใช้การสเปรย์ฝอยไปที่รากของพืช
ดังรูปข้างล่างนี้เป็นการประยุกต์ระบบแอร์โรโปนิกส์ (Aeroponics tower gardening)
โดยส่วนตัวผมก็สงสัยอยู่ว่าทำไมฝรั่งเค้าไม่เปิดน้ำใส่แบบผ่านน้ำให้ไหลได้ตลอดเวลา และก็พบคำตอบว่า การที่ระบบเติมน้ำในแปลงปลูกให้สูงระดับหนึ่งแล้วปล่อยน้ำออก ก็เพื่อให้รากพืชที่ปลูกรวมกันได้รับความชื้นโดยทั่ว และขณะที่กาลักน้ำทำงาน Siphon จะดูดน้ำออกอย่างรวดเร็วและยังดึงอากาศลงไปสู่รากอย่างรวดเร็ว แปลงผักแบบนี้ผมเคยลองทำแล้วโดยไม่ต้องเพาะต้นกล้า แค่ว่านเมล็ดลงไปเลย ก็ใช้ได้แล้วครับ พอต้นโตก็ย้ายออกปลูกในแปลงอื่นๆ หรือจะให้ต้นโตไปเลยก็ได้ แต่จะเบียดกันตามจำนวนเมล็ดที่ว่าน แต่จะให้ดีก็หยอดเมล็ดลงให้ห่างไว้ก่อนก็ดี เพราะที่ผมทำเพื่อการทดลองเท่านั้น
แต่จะมีใครเคยสังเกตุไหมครับว่า แปลงปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ทำไมมีทั้งแบบที่ปลูกด้วยโฟมแล้วลอยน้ำ หรือปลูกในท่อแบบระบบไฮโดรโปนิกส์ที่พบเห็นได้บ่อยและการปลูกในแปลงปลูกแบบใช้วัสดุอย่างเช่นเพอไลท์หรือไฮโดรตรอน ที่จริงระบบอควาโปนิกส์ได้รับการประยุกต์มาจากระบบไฮโดรโปนิกส์ และระบบแอร์โร่โปนิกส์ด้วย (Aeroponics system) การที่จะปลูกผักแบบลอยน้ำนั้นอาจจะมีข้อจำกัดกับการปลูกผักได้ไม่กี่ชนิดส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันก็จะเป็นผักสลัด ผักแบบลำต้นไม่สูงใบเป็นทรงพุ่ม ลำต้นไม้ล้มง่ายอยู่ตินแผ่นโฟม เลยมีการคิดค้นการปลูกผักชนิดอื่นด้วย อย่างเช่นมะเขือเทศ ที่ต่างประเทศนิยมบริโภคสดกันเยอะ โดยใช้วิธีการแบบแอร์โรโปนิกส์ คือใช้มีเดีย วัสดุอย่างเช่นไฮโดรตรอนเป็นเครื่องปลูกเพื่อช่วยพยุงลำต้นให้รากยึดแน่น แต่เนื่องจากทำวิธีการนี้ปลูกในท่อเป็นรางนอน เวลารากมีมากขึ้นจะทำให้ไปขวางทางน้ำเกิดการอุดตันขึ้นได้และหากใช้ท่อรางปลูกใหญ่ขึ้นก็จะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และราคาท่อก็สูงขึ้นด้วย จึงมีการประยุกต์ใช้ระบบแอร์โรโปนิกส์โดยใช้การสเปรย์ฝอยไปที่รากของพืช
ดังรูปข้างล่างนี้เป็นการประยุกต์ระบบแอร์โรโปนิกส์ (Aeroponics tower gardening)
http://laurbanfarms.com/wp-content/uploads/2013/10/HowTGworks3.gif |
จากภาพผักส่วนใหญ่ก็จะเป็นผักสลัดระบบนี้ก็ยังมีข้อจำกัดเหมือนเดิมคือปลูกพืชแบบยืนต้นไม่ได้ เพราะรากไม่มีอะไรให้ยึดเกาะได้ ต่อให้ใช้กระถางขนาดใหญ่ใส่มีเดียปลูกได้มากๆ ก็ไม่สามารถส่งปุ๋ยไปถึงระบบรากได้เลย จึงจบปัญหาหากต้องการปลูกพืชผักไม้ล้มลุกหรือไม้ยืนต้น อย่างเช่นมะเขือเทศ มะเดือฝรั่งที่เรากำลังฮิตกัน โดยทำแปลงปลูกแบบใช้มีเดียอย่างไฮโดรตรอนเป็นวัสดุปลูกเพราะเบาและแปลงปลูกก็สามารถระบายน้ำได้ดี อีกทั้งยังสามารถเพิ่มอ็อกซิเจนให้กับรากพืชไปพร้อมกันได้ โดยมีการระบายน้ำออกจากแปลงปลูกได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ Siphon หรือกาลักน้ำ
ในภาพนี้มีแปลงปลูกแบบใช้รางน้ำสำหรับปลูกสลัด และแปลงด้านขวาสุดนี้ก็จะใช้มีเดียในการปลูก ถ้าทำแบบนี้ได้ไม่ต้องทำโต๊ะก็จะประหยัดงบประมาณได้เยอะครับ |
มาทำความรู้จัก ระบบ airlift pump กันเถอะ
การทำงานของระบบแอร์ลิฟท์ปั้มจะใช้แรงดันลมจากปั้มที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำ ก็สามารถดูดน้ำไหลปริมาณมากได้ เนื่องจากปั้มน้ำที่เราเห็นทั่วไปอย่างเช่นปั้มน้ำในบ้านแบบอัตโนมัติจะมีกำลังไฟฟ้าอย่างน้อย 150 w - 400 w หากเราเปิดปั้มน้ำทำงานในระบบอควาโปนิกส์ต้องทำงานตลอด 24 ชม. กำลังไฟฟ้าที่ใช้ จะเป็น (150x24x30)/1000= 108 หน่วย ค่าไฟฟ้าน่าจะเกิน 200 ต่อเดือนตัวอย่างผมใช้ไฟฟ้าอยู่ 90 หน่วยต่อเดือนจะเสียค่าไฟฟ้าสองร้อยกว่าบาทต่อเดือนแล้ว แต่หากเราใช้ปั้มลมแค่กำลังไฟฟ้า 20w หนึ่งเดือนจะใช้ไฟฟ้า (20x24x30)/1000= 14.4 หน่วย ด้วยกำลังไฟฟ้าเท่านี้ผมไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าเลย เพราะรัฐบาลรับไป 50 หน่วย จะเห็นได้ชัดเจนเลยนะครับต่างกันมาก
การนำระบบนี้ไปใช้กับการปลูกผักแบบอควาโปนิกส์ขนาดพื้นที่ไม่มากเราก็จะใช้ปั้มตู้ปลาแรงดันต่ำแบบทั่วไปที่ขายตามร้านขายปลาสวยงามก็ได้ หากจะนำระบบแอร์ลิฟท์ปั้มไปใช้คงไม่เห็นความแตกต่างสักเท่าไร แต่หากใครที่คิดออกแบบทำเป็นระบบฟาร์มปลูกพื้นที่แปลงผักมากหน่อยต้องการบริหารจัดการน้ำต้องการน้ำไหลปริมาณมาก เช่นอาจจะออกแบบบ่อเลี้ยงปลาแบบหนาแน่น ต้องการน้ำไหลเพื่อถ่ายเทของเสียอย่างรวดเร็วแล้วละก็ ระบบแอร์ลิฟท์ปั้มน่าจะเป็นทางออกที่ดี
แปลงผักในน้ำ และแบบใช้มีเดียอย่างเช่นไฮโดรตรอน aquaponics grow pond and hydrotron media |
ตัวอย่าง 1
มีบ่อเลี้ยงปลาแบบซีเมนต์ขนาด 4x12 สูง 1 เมตร ใส่น้ำเลี้ยงปลาสูง 60cm
จะได้ปริมาตรของน้ำเท่ากับ 4x12x0.6= 28.8 ลบ.ม.
มีบ่อปลูกผักด้วยโฟมลอยน้ำแบบในรูปด้านบน ขนาด 1m x 30m x 0.2m
มีจำนวน 10 แปลง จะมีปริมาตรน้ำ 1x30x0.2x10= 60 ลบ.ม.
มีบ่อพักน้ำสำหรับติดตั้งปั้มน้ำ 2x2x1= 4 ลบ.ม.
ความต้องการแก้ปัญหาเรื่องน้ำของระบบ เราจะคิดที่การไหลเวียนของน้ำที่บ่อปลาอย่างเดียว ต้องการเอาของเสียจากการขับถ่ายของปลาออกในหนึ่งชั่วโมง บ่อขนาด 28.8 ลบ.ม. ก็ต้องหาปั้มที่มีปริมาณการไหลสูงถึง 28.8ลบ.ม.ต่อชั่วโมง หรือ 480ลิตรต่อนาที ซึ่งปั้มน้ำที่ใช้กับระบบนี้ในท้องตลาดจะใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่า 1000w แน่นอนว่าไม่คุ้มกับค่าไฟฟ้าที่เสียไปกับการปลูกผักเป็นแน่
แต่หากนำระบบปั้มแบบแอร์ลิฟท์ปั้มไปใช้ก็จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า จากวีดีโอตัวอย่างด้านบนจะใช้ปั้มที่ใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 20w ที่ปริมาณน้ำไหล 15ลบ.ม.ต่อชั่วโมงเท่านั้น การแก้ปัญหาของเราก็ใช้ปั้มลมที่แรงดันลมมากขึ้น 40w ก็จะได้ปริมาณน้ำไหลขึ้นเป็นสองเท่า หรือ 30 ลบ.ม.ก็ได้
ระบบกรองน้ำ Aquaponics Swirl filter
ส่วนสำคัญอีกอย่างในระบบอควาโปนิกส์ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ ระบบการกรองตะกอน ผมได้ทดสอบการกรองด้วยใยกรอง แล้วเอาไม่อยู่ ตะกอนเกิดขึ้นไวมากยิ่งเลี้ยงปลาจำนวนมากในบ่อแคบแล้ว ต้องหมั่นล้างกรองแทบทุกวันแล้วก็ล้างยากด้วย ขนาดผมทำบ่อกรองวนขนาด 1x1 เมตร ตะกอนยังลอยอยู่เหนือผิวน้ำ เพราะปั้มน้ำที่ผมใช้มีอัตราการไหลของน้ำ 16000L/H กำลังไฟฟ้า 40w ท่อออกขนาด 2นิ้ว แรงดันน้ำที่ไปออกทางบ่อกรองถึงแม้จะน้อยกว่าขาออกปั้มแต่ก็ทำให้น้ำไหลไม่ทันตกตะกอน พอไหลไปบ่อปลูกผักก็ทำให้ตกตะกอนทั่วบ่อและตะกอนยังติดรากผักขึ้นมาด้วย หากจะลดขนาดปั้มน้ำลงก็จะมีชั่วโมงการทำงานที่มากขึ้น ถึงแม้กำลังไฟฟ้าจะลดลง แต่ก็สิ้นเปลืองได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วหากท่านต้องการเลี้ยงปลาแบบหนาแน่น และใช้ระบบการบำบัดของเสียด้วยพืช จำเป็นต้องมีบ่อกรองขนาดใหญ่ และปั้มน้ำที่มีอัตราการไหลของน้ำเพิ่มขึ้นด้วย อย่างเช่นบ่อปลามีปริมาตรน้ำ 20 ลบ.ม. หรือ 20000 ลิตร ควรใช้ปั้มขนาดที่มีอัตราไหล 40000 L/H เพื่อที่จะได้ลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง แล้วตั้งเวลาให้ปั้มทำงานเป็นเวลา จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าไปในตัว ส่วนบ่อกรองควรจะมีขนาดใหญ่เพื่อที่ตะกอนจะตกลงพื้นไม่ฟุ้งกระจายออกจากบ่อได้ง่าย
มาดูกลไกการทำงานของระบบกรองแบบ Swirl Filter
จากรูปจะมีเพียงท่อเข้าและออกเท่านั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน เพื่อให้เห็นการทำงาน สังเกตุจากภาพท่อน้ำเข้าปลายท่อจะเอียงขนานไปกับแนวผนังบ่อและสูงจากก้อนบ่อเลยระดับกลางบ่อขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อที่เวลาน้ำไหลมาจากบ่อปลาที่มีตะกอนจะได้ไหลวนและไม่ไปทำให้ตะกอนอยู่ใต้บ่อฟุ้งกระจายขึ้นมา
และมีท่อน้ำออกอยู่สูงขึ้นไปเกือบถึงปากบ่อหันปากท่อตั้งขึ้นข้างบน ส่วนตะกอนที่อยู่ใต้บ่อผมจะใช้ท่อดูดออกแบบกาลักน้ำ จะประหยัดค่าวัสดุทำบ่อกรองได้มาก ไม่ต้องทำถังรูปกรวยซ้อนไว้ข้างในเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองได้ แต่หากท่านมีทุนทรัพย์มากพอ ควรจะเพิ่มเหมือนดังรูปข้างล่างนี้
จากรูปจะเห็นได้ว่ามีอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาคือถังรูปกรวย ท่อระบายตะกอนและวาล์ว วิธีการนี้จะสะดวกในการระบายตะกอนทิ้งได้ง่าย แต่ก็สิ้นเปลืองมากขึ้น หากเป็นบ่อกรองแบบท่อซีเมนต์หรือบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ บ่อส่วนกลางต้องมีการปรับพื้นให้มีความลาดเอียงเป็นทรงกรวยและวางท่อระบายน้ำออกก่อน จะเจาะใส่ทีหลังก็คงลำบาก แต่หากระบบที่ท่านทำไม่ใหญ่โตมากเน้นการปลูกพืชเป็นหลัก มีบ่อเลี้ยงปลาสัก 100 - 500 ตัว ก็ใช้ถังน้ำดื่มเป็นถังพักตะกอนก็ได้ แบบที่ฝรั่งเค้าทำกันครับ
สรุปแล้ววิธีการแรกผมได้ทนลองทำแล้ว มีข้อผิดพลาดเรื่องของการตกตะกอนคิดว่าคงจะขยายบ่อให้กว้างขึ้นสัก 2x2 เมตรแล้วปรับก้นบ่อให้ลาดเอียงเพื่อที่จะให้ตะกอนไปรวมกันอยู่ตรงกลางบ่อแล้วดูดทำท่อดูดออกก็พอ
มาดูกลไกการทำงานของระบบกรองแบบ Swirl Filter
จากรูปจะมีเพียงท่อเข้าและออกเท่านั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน เพื่อให้เห็นการทำงาน สังเกตุจากภาพท่อน้ำเข้าปลายท่อจะเอียงขนานไปกับแนวผนังบ่อและสูงจากก้อนบ่อเลยระดับกลางบ่อขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อที่เวลาน้ำไหลมาจากบ่อปลาที่มีตะกอนจะได้ไหลวนและไม่ไปทำให้ตะกอนอยู่ใต้บ่อฟุ้งกระจายขึ้นมา
และมีท่อน้ำออกอยู่สูงขึ้นไปเกือบถึงปากบ่อหันปากท่อตั้งขึ้นข้างบน ส่วนตะกอนที่อยู่ใต้บ่อผมจะใช้ท่อดูดออกแบบกาลักน้ำ จะประหยัดค่าวัสดุทำบ่อกรองได้มาก ไม่ต้องทำถังรูปกรวยซ้อนไว้ข้างในเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองได้ แต่หากท่านมีทุนทรัพย์มากพอ ควรจะเพิ่มเหมือนดังรูปข้างล่างนี้
สรุปแล้ววิธีการแรกผมได้ทนลองทำแล้ว มีข้อผิดพลาดเรื่องของการตกตะกอนคิดว่าคงจะขยายบ่อให้กว้างขึ้นสัก 2x2 เมตรแล้วปรับก้นบ่อให้ลาดเอียงเพื่อที่จะให้ตะกอนไปรวมกันอยู่ตรงกลางบ่อแล้วดูดทำท่อดูดออกก็พอ
อะไรคือดรายซ์โซน ในระบบอควาโปนิกส์
มีหลายท่านที่ได้ดูวีดีโอของผมแล้วได้ลองทำ แต่เกิดปัญหากับผักที่ปลูกมีการเน่าเสียของใบจนทำให้เน่าตายทั้งต้น และนี่คือสิ่งที่ท่านได้มองข้ามมันไปก็คือ Dry zone ดรายซ์โซนจะทำหน้าที่กั้นน้ำไม่ให้โดนใบของผัก ป้องกันการเน่าเสียของใบ ด้วยเหตุนี้ฝรั่งเค้าจึงมีท่ออีกชุดไว้กั้นหินไปทับถมท่อส่วนที่ทำหน้าที่เป็นกาลักน้ำ ( Siphon) โดยติดตั้งท่อขนาดใหญ่กว่าไว้ด้านนอกสุด นอกจากกั้นหินแล้วยังกั้นรากพืชได้อีก
ภาพจาก http://www.heavenandearthaquaponics.com
ภาพจาก http://www.heavenandearthaquaponics.com
ว่านสบู่เลือด. สมุนไพรต้านมะเร็ง
ประมาณเกือบสิบปีก่อน ผมมีความสนใจกล้วยไม้ป่า เฟิร์นและมอสส์ เลยเข้าป่าสำรวจ ได้มีโอกาสพันธุ์ไม้แปลกตามากมาย แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักเสียเลย นอกจากกล้วยไม้ เฟิร์น และมอสส์บางชนิดเท่านั้นที่ได้ศึกษาเองจากหน้าเว็บ พอได้หาข้อมูลในเว็บไซต์มาช่วงหนึ่งก็ได้มารู้จักสมุนไพรสบู่เลือด เห็นแค่รูปในเว็บเท่านั้น แต่ในช่วงเดินป่าก็เห็นผ่านตาอยู่บ้างเลยรีบขึ้นเขาในเย็นวันนั้นเลย เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจกันไปเลย พร้อมกับได้นำลงมาปลูก สบู่เลือดที่ผมได้ไปพบเห็นเขาจะขึ้นอยู่บริเวณหินผา ไม่ลาดเอียงมากนัก มีร่ม ชอบอยู่ริมน้ำตก ทุกวันนี้ก็น่าจะมีอยู่ที่เดิม ผมแบ่งมาแค่สองหัว คิดว่าน่าจะยังไม่มีใครไปเห็น เพราะเท่าที่สอบถาม ผู้คนที่หาของป่า ส่วนใหญ่จะบอกว่าอยู่เขาสูง แถวบ้านผมจะมีอยู่ที่หนึ่งคือจุดที่เรียกว่าสวนเมี่ยง ที่หมายถึงกัน ผมเองก็เคยไปเจอ หัวใหญ่มากแบกมาไม่ไหว
สบู่เลือด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania venosa (Blume) Spreng) Curt Polycarp Joachim Spreng 1827
จากชื่อวิทยาศาสตร์ผมได้คำสำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม "Stephania venosa " เริ่มจากเว็บ wikipedia เพื่อตรวจสอบดูก่อนว่าสมุนไพรชนิดนี้อยู่ในวงศ์สกุลอะไร มีชนิดอื่นอีกไหม นอกจากไทยบ้านเรา น่าจะมีต่างประเทศด้วย เพราะเฉพาะที่ไทยเรามีทั้งตัวผู้และตัวเมีย และแล้วก็ได้คำตอบของไทยเราถูกค้นพบ ตั้ง 15 ชนิด ทางตอนเหนือของประเทศ (15 Stephania found only in northern Thailand, specifically in the area around Chiang Rai)
และพืชชนิดนี้ถูกค้นพบในไทย 18 ชนิดจากทั้งหมดในกลุ่มนี้ 45 ชนิด
ข้อมูลอ้างอิง http://archive.is/8BUpV#selection-1787.0-1787.24
ได้ยินมาแค่ว่าสบู่เลือดมีตัวผู้ ตัวเมียแต่พอค้นหาจริง ได้มามากกกว่าที่คิดเยอะมากสบู่เลือด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania venosa (Blume) Spreng) Curt Polycarp Joachim Spreng 1827
จากชื่อวิทยาศาสตร์ผมได้คำสำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม "Stephania venosa " เริ่มจากเว็บ wikipedia เพื่อตรวจสอบดูก่อนว่าสมุนไพรชนิดนี้อยู่ในวงศ์สกุลอะไร มีชนิดอื่นอีกไหม นอกจากไทยบ้านเรา น่าจะมีต่างประเทศด้วย เพราะเฉพาะที่ไทยเรามีทั้งตัวผู้และตัวเมีย และแล้วก็ได้คำตอบของไทยเราถูกค้นพบ ตั้ง 15 ชนิด ทางตอนเหนือของประเทศ (15 Stephania found only in northern Thailand, specifically in the area around Chiang Rai)
และพืชชนิดนี้ถูกค้นพบในไทย 18 ชนิดจากทั้งหมดในกลุ่มนี้ 45 ชนิด
ข้อมูลอ้างอิง http://archive.is/8BUpV#selection-1787.0-1787.24
- Stephania crebra Lewis Leonard Forman
- Stephania tomentella Lewis Leonard Forman
- Stephania suberosa Lewis Leonard Forman 1980 บอระเพ็ดพุงช้าง
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- มีหัวกลม โผล่พ้นดิน โคนต้นมีเปลือกแข็ง ปลายยอดเรียบและเหี่ยวแห้งในฤดูแล้ง ใบเดี่ยว ช่อดอกแยกเพศ ออกที่ซอกใบ ผลสดกลมมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม กระจายตามเขาหินปูนในภาคตะวันตก พบครั้งแรกในประเทศไทยที่เขาหินปูนที่บ้านวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี
- Stephania tuberosa Lewis Leonard Forman 2007
- Stephania venosa (Blume) Spreng) 1827 สบู่เลือด
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ใบ ใบจะกลม ขนาด 3-4 นิ้ว มีปลายแหลมก้นปิด ท้องใบมีสีเขียวอ่อนๆ
- หัว มีขนาดกลมใหญ่จนถึงขนาดใหญ่มาก เปลือกหัวมีสีน้ำตาล
- ลำต้น ลำต้นบนดินมีอายุปีเดียว งอกมาจากหัวใต้ดินขนาดใหญ่
- ยาง ตัวเมียจะไม่มียางสีแดง ส่วนตัวผู้จะมีสีแดง
- ดอกช่อ แยกเพศช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีส้ม ส่วนช่อดอกเพศเมียอัดแน่นมากกว่า ผลเป็นผลสดรูปไข่กลับ
- เมล็ด เมล็ดจะสุกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ของทุกปี
- เนื้อใน มีสีขาวนวล
- รสชาติ มันและฟาดเล็กน้อย
- ชนิดตัวเมีย ใบสีเขียว ก้านและเถาสีเขียว ดอกสีเขียวอมขาว มียางแดง ๆ จาง ๆ เหมือนน้ำเหลือง หัวกลมเล็ก เนื้อสีเหลืองอ่อน ผิวเรียบชนิดตัวผู้ ใบสีเขียวอมแดง ก้านและเถาอ่อน มีสีม่วงแดง หัวกลมโต ผิวขรุขระ ยางสีแดงเข้ม เนื้อสีเหลืองเข้ม เมื่อตากแห้งจะเป็นสีแดง
- Stephania glandulifera Miers เถ้าก้นปิด
- Stephania erecta William Grant Craib 1922 บัวบกหัว หรือ บัวบก
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]
- บัวบกหัว เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน มีก้านโผล่พ้นดินไม่สูงนัก
- ใบ คล้ายใบบัวบก แต่ใบแข็ง ใบรูปเกือบกลม บางครั้งมีขนขนาดเล็กที่ใบ
- ดอกเพศผู้เป็นช่อติดที่ซอกใบ ก้านช่อดอกเรียว กลีบรองกลีบย่อย 4 หรือ 5 กลีบ สีเหลือง กลีบดอกเชื่อมรวมกับเกสร ไม่มีก้านดอก หรือก้านสั้นมาก
- ดอกเพศเมียไม่ปรากฏลักษณะ ผลมีเนื้อรูปเกือบกลม เมล็ด เป็นเมล็ดแบบมีเปลือกแข้ง
- หัว มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีรสขมมัน
- Stephania reticulata Lewis Leonard Forman ตับเต่า
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ปลายใบกลม โคนเว้าเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบ หลังใบมีสีเขียวออกสีนวล ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้สีเข้ม ล้อมเกสรตัวเมียอยู่กลางดอก ผลเดี่ยว ผิวเรียบ แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมแดงหรือสีดำ ผลใช้เป็นอาหารสัตว์
- Stephania kerrii Craib
- Stephania subpeltata H.S. Lo
- Stephania rotunda Lour.
- Stephania papillosa Craib
- Stephania oblata Craib
- Stephania hernandiifolia (Willd.) Walp.
- Stephania japonica var. discolor (Blume) Forman
- Stephania elegans Hook.f. & Thoms.
- Stephania capitata (Blume) Spreng.
- Stephania brevipes Craib
- Stephania pierrer วงศ์ Menisspermaceae บัวกือหรือเปล้าเลือดเครือ
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินเปลือกสีดำ เนื้อสีขาว ลำต้นเป็นเถาเลื้อย แตกรากและใบตามข้อ ใบเดี่ยว รูปกลมรี โคนก้านใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านใบขนาดเล็ก ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกย่อยสีม่วง ผลแห้งแบบแก่แล้วแตก ใบสดหรือทั้งต้นคั้นน้ำทาแผลแก้ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
การปลูก
วิธิการปลูกของผมจะมี 2 แบบ
1. ใช้หัววางไว้กับดินโดยไม่ต้องฝัง เค้าจะเกิดรากแทงลงไปในดินได้เอง หรือจะใช้หิน กรวด อะไรแบบนี้ก็ได้ เลียนแบบธรรมชาติ
2. ราก ขนาดเท่าหัวแม่มือ แบบนี้ใครหลายคนอาจจะงง คือถ้าเราขุดหัวขึ้นมารากที่เกิดมาก่อนจะมีขนาดใหญ่แล้วจะกลายเป็นหัวที่ใหญ่ขึ้นผมยังเรียกส่วนนี้ว่าเป็นราก จะมีรากแบบนี้อยู่หลายอัน ซึ่งรากแบบนี้จะมีอาหารสะสมอยู่ แค่นำส่วนที่แหลมเสียบลงดิน ก็จะได้ต้นใหม่แล้วครับ
เวลาผ่านไป เมื่อสิบปีก่อน ข้อมูลในเว็บยังมีไม่มาก สรรพคุณที่ผมนำมาลงนี้เมื่อก่อนยังมีไม่ถึงสิบข้อเลย และในอนาคตอีกไม่เกินสิบปี สรรพคุณของสบู่เลือดน่าจะมีมากกกว่านี้ อาจจะถึงขั้นการนำสบู่เลือดไปรักษามะเร็งอย่างจริงจัง แต่ ณ ปัจจุบันนี้ 2560 เรามาดูสรรพคุณที่น่าสนใจกันเลย
สรรพคุณของว่านสบู่เลือด
- หัวว่านสบู่เลือด นำมาดองกับเหล้ากินเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยทำให้กระชุ่มกระชวย สุขภาพแข็งแรง(หัว[1],[4],[6], หัว[9])
- หัวมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำหนัด (หัว)[1],[4],[6],[9]
- ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย (ใบ)[9]
- หัวนำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนไว้กินเป็นยาอายุวัฒนะ (หัว)[1],[6]
- รากช่วยบำรุงประสาท บำรุงเส้นประสาท ป้องกันโรคความจำเสื่อม (ราก, ใบ)[1],[6],[9]
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้ไมเกรน (หัว)[6],[7]
- หัวใช้ผสมกับยาสมุนไพรอื่น ๆ (ไม่ระบุ) มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน (หัว)[8]
- มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาใช้เป็นยาป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากกระท่อมเลือดมีสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholine esterase ทั้งยังพัฒนาเพื่อใช้เป็นยาต้านมะเร็งอีกด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (หัว)[1]
- ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[9]
- ช่วยรักษาอาการผอมแห้ง (หัว)[4] ด้วยการใช้หัวนำมาต้มอาบหรือต้มกินเป็นยาบำรุงของสตรี แก้อาการผอมแห้ง หน้าตาซีดเซียวไม่มีน้ำมีนวล ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงได้ แต่การใช้สมุนไพรชนิดนี้ต้องระมัดระวังสักหน่อยหากนำมาใช้กับสตรี (หัว)[8]
- ช่วยรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ (หัว)[6])
- ช่วยรักษาโรคหัวใจ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (หัว)[6],[8]
- ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง คนเลือดจางหรือเลือดน้อยให้ใช้หัวนำมาต้มกิน (หัว)[6],[7]
- ช่วยแก้เลือดลม ช่วยลดความดันโลหิต (หัว)[8]
- ช่วยแก้ปอดพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
- ช่วยกระจายลมที่แน่นในอก (เถา, ต้น)[6],[9]
- ช่วยรักษาโรคลมชักหรือลมบ้าหมู โดยในตำราพระเทพระบุว่าให้ใช้สมุนไพรสบู่เลือดที่มีสีแดงเรื่อ ๆ (สีขาวไม่ใช้) ประมาณ 3 กิโลกรัมขึ้นไปเพื่อความเข้มข้นของยา นำหัวมาหั่นเป็นแว่น ๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นนำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้กินก่อนอาหารเช้า เที่ยง และเย็น กินไปประมาณ 4-6 ปีอาการจะหายขาด (หัว)[4]
- หัวใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ ลดไข้ของเด็กได้ (หัว, ราก)[3],[9]
- เปลือกและใบใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้มาลาเรียได้ (เปลือก, ใบ)[5]
- ช่วยแก้หอบหืด ด้วยการใช้หัวนำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว, ราก)[3],[9]
- หัวใช้ดองกับเหล้ากินช่วยขับเสมหะ (หัว)[6]
- ส่วนหนามของว่านสบู่เลือดช่วยแก้เสมหะในคอและทรวงอก (ต้น, หนาม)[9]
- ช่วยแก้บิด (หัว, ราก)[9]
- ช่วยขับผายลม (หัว)[6],[9]
- ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก[6], ผล[9])
- ช่วยทำให้อุจจาระละเอียด (ดอก)[9]
- เถานำมาต้มกินเป็นยาขับพยาธิในลำไส้ (เถา)[1],[4],[6],[9]
- ดอกว่านสบู่เลือดช่วยฆ่าแม่พยาธิอันเกิดจากโรคเรื้อนและกุฏฐัง (ดอก)[9]
- หนามของว่านสบู่เลือดช่วยแก้โลหิตอันเน่าในท้องในตกใน (หนาม)[9]
- เถาใช้ปรุงเป็นยาขับโลหิตระดูของสตรีได้ (เถา)[4],[6],[9]
- ช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรี แก้มุตกิดระดูขาวหรือตกขาวได้อย่างชะงัด ด้วยการใช้หัวสบู่เลือดสด ๆ นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ สัก 3-4 แว่นตำละเอียด ผสมรวมกับน้ำซาวข้าวหรือเหล้าขาว 40 ดีกรี แล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำมากิน 1 ถ้วยชา ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (หัว)[4]
- หัวใช้ต้มกิน ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรีได้ (หัว)[7]
- ใบสามารถนำมาใช้รักษาแผลสดและแผลเรื้อรังได้ (ใบ)[1],[2],[6],[9]
- ใบใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มอบไอน้ำ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคันตามตัวได้ (ใบ)[5]
- ช่วยแก้โรคผิวหนังมีผื่นคัน (ดอก)[6],[9]
- ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อนและหิด (ดอก, ใบ, ต้น, ราก)[9]
- ช่วยแก้โรคเรื้อนใหญ่ เรื้อนน้อย (ใบ, ต้น, ราก)[9]
- ช่วยแก้โรคมือเท้าไม่มีกำลังได้ (ต้น)[9]
- เถาและก้านนำมาใช้ดองกับสุรากิน จะช่วยทำให้ผิวหนังชา ผิวอยู่ยงคงกระพันเฆี่ยนตีไม่แตก นักเลงสมัยโบราณนิยมกันมากทั้งนำมากินและนำมาทา (เถา, ก้าน)[4],[8]
- น้ำยางสีแดงสามารถนำมาใช้เป็นหมึกเพื่อใช้สักยันต์ตามตัวเพื่อทำให้หนังเหนียวได้ (น้ำยางสีแดง)[8]
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้หัวสบู่เลือดฝานบาง ๆ ประมาณ 2 กำมือ นำมาดองกับเหล้าขาว 1 ขวด แล้วเติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดองทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้วเป๊ก ก่อนอาหาร 3 มื้อและช่วงก่อนนอน (หัว)[4]
ที่มา: สรรพคุณ https://medthai.com
ข้อมูลอ้างอิง
ข้อมูลอ้างอิง
แหนแดงสำหรับปุ๋ยในนาข้าว
ที่มา: อร่าม คุ้มกลาง, ธรรมนูญ ฤทธิมณี และสาวิตร มีจุ้ย. 2523. ผลการใช้แหนแดงแทนปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตของข้าว.
ใบแหนแดงมีโพรงขนาดเล็กที่เป็นที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabana azollae ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ ด้วยภายในเซลล์จะมีเอนไซม์ nitrogenase ซึ่งใช้เหล็ก และโมลิดินั่มสำหรับเป็น cofactors ในปฏิกิริยา พร้อมกัรีดิวซ์ก๊าซไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนีย และเก็บไว้ในเซลล์ และไนโตรเจนที่ตรึงได้นี้กลายเป็นธาตุอาหารสำคัญในการเติบโตของแหนแดง ทำให้แหนแดงมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดได้เหมือนกับพืชตระกูลถั่วอื่นๆ
แหนแดงที่อยู่ในสภาพที่เหมาะสม แหล่งอาศัยมีธาตุอาหารสูงจะสามารถเพิ่มจำนวนต้นได้รวดเร็ว โดยในเวลา 30 วัน แหนแดงสามารถเพิ่มจำนวน และเติบโตจนได้ต้นสดได้มากถึง 3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะตรึงไนโตรเจนได้ประมาณ 5-10 กิโลกรัม/ไร่
วีดีโอที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=SIgxVWLguU0
สำหรับนาดำ การใช้แหนแดงจะทำการหว่านแหนแดงก่อนการไถปักดำ ประมาณ 1 เดือน อัตราการหว่านที่ 50 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งระยะนี้จำเป็นต้องมีน้ำขังในแปลงนาตลอด หลังจากนั้น แหนแดงจะเติบโต และขยายจำนวนจนเต็มแปลงนา ก่อนทำการไถเพื่อปักดำต้นข้าว โดยสามารถให้ผลผลิตกว่า 1-3 ตัน/ไร่ หลังจากนั้น เมื่อต้นข้าวเติบโตจึงหว่านแหนแดงอีกรอบ ประมาณ 100 กก./ไร่
2) อร่าม และคณะ (2523) ได้ศึกษาใช้แหนแดงแห้งประมาณ 200 กิโลกรัม/ไร่ (แหนแดงสด 5 กิโลกรัม ตากแห้งเหลือ 300 กรัม) สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนประมาณ 6 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งการทดลองนี้ได้เปรียบเทียบผลผลิตข้าวกับตำรับที่มีการใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 พบว่า นาข้าวที่ใส่แหนแดงจะให้ผลผลิตข้าวประมาณ 612 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนนาข้าวที่ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัม/ไร่ จะให้ผลผลิตข้าวประมาณ 513 กิโลกรัม/ไร่
ข้อเสียของแหนแดง
1. แหนแดงเมื่อเติบโต และแพร่กระจายมากจะมีลำต้นปกคลุมผิวน้ำทั้งผืน ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงท้องน้ำหรือแสงแดดส่องไม่ถึงน้ำ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสง และการเติบโตของพืชใต้ท้องน้ำ รวมถึงทำให้ออกซิเจนละลายน้ำลดลง ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มีสาเหตุสำคัญทำให้สัตว์น้ำจำพวกปลาตายได้ง่าย
2. แหนแดงสามารถเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีไนโตรเจนสูง ทำให้ปกคลุมพื้นผิวน้ำจนทั่ว ส่งผลให้พรรณไม้น้ำชนิดอื่นไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และตายได้ง่าย อีกทั้งเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของแหนแดงออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะอื่น
1. แหนแดงเมื่อเติบโต และแพร่กระจายมากจะมีลำต้นปกคลุมผิวน้ำทั้งผืน ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงท้องน้ำหรือแสงแดดส่องไม่ถึงน้ำ ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสง และการเติบโตของพืชใต้ท้องน้ำ รวมถึงทำให้ออกซิเจนละลายน้ำลดลง ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มีสาเหตุสำคัญทำให้สัตว์น้ำจำพวกปลาตายได้ง่าย
2. แหนแดงสามารถเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีไนโตรเจนสูง ทำให้ปกคลุมพื้นผิวน้ำจนทั่ว ส่งผลให้พรรณไม้น้ำชนิดอื่นไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และตายได้ง่าย อีกทั้งเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของแหนแดงออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะอื่น
ฝรั่งทึ่ง ‘แหนไทย’ ชี้เป็น ‘ซุปเปอร์ฟู้ด’ ในอนาคต
ที่มา:มติชนออนไลน์
ศาสตราจารย์ แกร์ฮาร์ด ยาห์รีส นักวิชาการจากสถาบันโภชนาการแห่งมหาวิทยาลัยฟรีดริค ชิลเลอร์ เจนา ในเมืองเจนา ประเทศเยอรมนี เปิดเผยผลศึกษาวิจัยน่าทึ่งเกี่ยวกับคุณสมบัติเชิงโภชนาการของ “ดัควีด” หรือ “แหน” พืชน้ำที่พบเห็นทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
ในฐานะนักโภชนาการ ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า แหน อาจทำหน้าที่เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญของอาหารในอนาคตสำหรับมนุษยชาติ ทั้งสามารถนำมาใช้โดยตรงอย่างเช่น ผสมในซุป, แกง, เป็นส่วนผสมของไข่เจียวและสลัด หรือนำไปทำเป็นอาหารแปรรูปได้
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า จากการศึกษาทั้งของตนเองและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันรวมถึงชาวอินเดียหลายคน เชื่อว่าดัควีดหลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก มีโปรตีนอยู่สูงในระดับเดียวกับถั่วทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งเมล็ดลูพิน (พืชในวงศ์ถั่ว มีทั้งที่เป็นไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ออกผลเป็นฝัก) และเมล็ดเรพ (ในไทยเรียกผักกาดก้านขาว หรือผักกาดมูเซอ เมล็ดมาสกัดน้ำมันสำหรับทำสบู่, น้ำมันหล่อลื่น) โดย มีสัดส่วนของโปรตีนสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณเมื่ออบแห้ง ทั้งยังมีกรดไขมัน โอเมกา-3 ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพสูงในหลายด้าน ตั้งแต่ลดอาการอักเสบไปจนถึงลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ และลดอาการหอบหืดในเด็กอีกด้วย
นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว แหนยังมีคุณสมบัติด้านการรักษาอีกด้วย โดยศาสตราจารย์ยาห์รีสชี้ว่าตัวแหนเองนั้นมีคุณสมบัติสามารถดูดซับจุลธาตุ (ธาตุขนาดเล็กกว่ามีความเข้มข้นเฉลี่ยน้อยกว่า 100 อะตอมต่อล้านอะตอมของส่วนผสมทั้งหมด) ที่เจือปนอยู่ในน้ำได้ ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ จากการเป็นพิษของภาวะทุพโภชนาการได้ โดยต้นทุนต่ำและทำได้ง่ายอีกด้วย
ข้อดีอีกประการของดัควีดหรือแหนก็คือสามารถเพาะปลูกได้ในน้ำโดยตรง ขยายตัวได้รวดเร็วมาก ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีที่ดินสำหรับใช้ในการเพาะปลูกเพิ่มเติม ซึ่งศาสตราจารย์ยาห์รีสบอกว่าทำให้แหนกลายเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ สำหรับการใช้เป็นแหล่งอาหารในหลายพื้นที่ซึ่งที่ดินเพื่อการเกษตรลดน้อยลง เช่นเดียวกับที่จะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีค่าในอนาคต
ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า ในเวลานี้มีโครงการริเริ่มเพื่อการผลิตแหนในระดับอุตสาหกรรมขึ้นแล้วในบางพื้นที่ อาทิ อิสราเอลและเนเธอร์แลนด์ แต่โครงการดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แหนเป็นอาหาร แต่เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลเท่านั้น
ศาสตราจารย์ยาห์รีสระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิจัยแหนเพราะสังหรณ์ว่าพืชน้ำชนิดนี้น่าจะเป็นแหล่งโปรตีนและกรดไขมัน โอเมกา-3 สำหรับเป็นอาหารระดับ “ซุปเปอร์ฟู้ด” ของมนุษย์ในอนาคตได้ และผลก็ปรากฏเช่นนั้นจริง
ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนขนานนามแหนว่าเป็น “เครื่องจักรสีเขียว” หรือ “กรีน แมชชีน” ในการต่อสู้กับความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการของโลกในอนาคต
การเลี้ยงแหนเป็ด แหนแดง 👉 How to growth duckweed??
👉 การเลี้ยงแหน เท่าที่เห็นในเว็บหลายแห่งจะใช้ท่อคอนกรีต ต้องใส่ดินรองก้นบ่อ แล้วต้องใส่มูลสัตว์ บางท่านก็จะใส่ปุ๋ยเคมี ต้องวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำด้วย มูลสัตว์อย่างขี้หมู ขี้วัว จะมีความเป็นกรดสูง ซึ่งต้องมีการพักน้ำไว้ก่อน ถึงจะเอาแหนลงไปเลี้ยงได้ ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นการยุ่งยาก เป็นการเพิ่มภาระงานอีก
สำหรับผู้เขียนแล้วมีวิธีที่สุดแสนจะง่าย ไม่ต้องเตรียมดิน ไม่ต้องใช้มูลสัตว์ ไม่ต้องเตรียมสารเคมีใดๆ เพราะเราจะนำแหนมาใช้กับระบบอควาโปนิกส์อยู่แล้วเพื่อทำหน้าที่ดูดเอาปุ๋ยแอมโมเนียในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อปลาของเราออกไป แล้วเอาน้ำดีไปเลี้ยงปลาต่อไป ผู้เขียนเลยคิดเอาบ่อแหนไว้ในระบบอควาโปนิกส์นี้ด้วยเลย
น้ำจากบ่อปลาจะมีทั้งตะกอน ดิน ขี้ปลา เศษไม้ รากพืช อย่างผมเองเลี้ยงผักตบไว้บำบัดน้ำและเป็นร่มเงาให้กับปลา จะมีรากผักตบจมอยู่ใต้น้ำด้วย น้ำจะดูดใส่ในบ่อกรอง กรองแบบวนให้ตะกอนตกไปยังพื้นบ่อกรอง แล้วเอาน้ำกรองเสร็จแล้วไปเลี้ยงแหน และแปลงปลูกผัก เพียงเท่านี้ครับ กระบวนการนำน้ำไปสู่บ่อแหน ตอนนี้ผมจะถ่ายเทน้ำเพียงอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น น้ำในบ่อปลาไม่ต้องทิ้งให้เปล่าประโยชน์ นำมาเลี้ยงแหน และน้ำที่บำบัดด้วยแหนก็ถ่ายกลับไปลงบ่อปลา งานผมตอนนี้ยังเป็นแมนนวลอยู่ ผมได้ทำบ่อดินเพิ่มอีก 3 บ่อเอาไว้แก้ปัญหาการเลี้ยงปลาตอนฤดูหนาว อนาคตยังต้องทำบ่อแหนเพิ่ม บ่อพักน้ำเพื่อดึงเอาน้ำจากบ่อปลามารวมยังบ่อพัก และบ่อกรองสำหรับระบบใหญ่ทำการดูดน้ำขึ้นมากรองแล้วก็วนไปปลูกพืช เลี้ยงแหน มีระบบตั้งเวลาควบคุมการทำงานของปั้มให้เป็นเวลา และน้ำเลี้ยงปลาน่าจะมีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม
สำหรับผู้เขียนแล้วมีวิธีที่สุดแสนจะง่าย ไม่ต้องเตรียมดิน ไม่ต้องใช้มูลสัตว์ ไม่ต้องเตรียมสารเคมีใดๆ เพราะเราจะนำแหนมาใช้กับระบบอควาโปนิกส์อยู่แล้วเพื่อทำหน้าที่ดูดเอาปุ๋ยแอมโมเนียในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อปลาของเราออกไป แล้วเอาน้ำดีไปเลี้ยงปลาต่อไป ผู้เขียนเลยคิดเอาบ่อแหนไว้ในระบบอควาโปนิกส์นี้ด้วยเลย
บ่อคอนเซ็ปท์ของผมที่เริ่มทำ |
บ่อที่ทำสำเร็จและทดลองใช้งานมาแล้วตั้งแต่เมษายน59 พื้นที่ด้านบนจะรกเลยละครับ เอาโรงเรือนกล้วยไม้มาทำบ่อเลี้ยงปลา |
แหนเป็ด อาหารปลาจากธรรมชาติ 🔜 duckweed for fish
เมื่อต้นปีที่แล้วผมมีความสนใจระบบปลูกพืชแบบอควาโปนิกส์ จึงได้ศึกษางานจากเว็บต่างประเทศ ซึ่งข้อมูลในไทยเรายังมีให้ศึกษาไม่มาก แต่ ณ ปัจจุบันนี้มีตัวอย่างของผู้กล้าหลายท่านเกี่ยวกับระบบอควาโปนิกส์นี้ออกสู่โลกออนไลน์มากมาย แต่งานผมเน้นไปที่การเลี้ยงปลามากกว่า ผักที่ปลูกไว้เพื่อทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียเท่านั้น แต่ระบบของฝรั่งเค้าทำกัน แปลงปลูกผักจะมีพื้นที่มากกว่าบ่อปลา เพื่อที่ผักจะดูดแอมโมเนียจากน้ำออกไปให้มากที่สุด แล้วก็จะได้น้ำดีออกมา
การเลี้ยงปลาสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้นทุนอาหารปลา ทำอย่างไรให้มีต้นทุนต่่ำที่สุด ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงปลาไซส์เล็ก จนโตจะมีขนาดไม่เท่ากันไม่ว่าจะเป็นปลาชนิดไหนก็ตาม และเมื่อจับปลาออกขาย จะเหลือปลาที่โตไม่ทันอีกจำนวนหนึ่ง ก็จะมีผลให้สิ้นเปลืองค่าอาหารเพิ่มขึ้น และโดยส่วนตัวผม เอาเงินลงทุนไปกับการทำบ่อปูนเลี้ยงปลาและพันธุ์ปลาเป็นส่วนใหญ่ ผมจึงได้ศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องอาหารปลา เพื่อลดค่่าใช้จ่าย
การศึกษาวีดีโอเรื่องระบบอควาโปนิกส์ มีตัวอย่างเรื่องการให้อาหารปลาที่ฝรั่งเค้าทำกันก็คือการเลี้ยงแหนเป็ด (Lemna minor L.) สำหรับใช้เลี้ยงปลานิล ซึ่งแหนเป็ดจะมีโปรตีนอยู่เยอะมาก ตั้งแต่ 20 - 40 % เลยทีเดียว มากพอๆ กับโปรตีนที่ผสมมาในอาหารปลาสำเร็จรูป และแหนเป็นพืชที่ลอยน้ำได้จะป้อนให้ปลามากมากน้ำไม่เสีย ยังช่วยบำบัดน้ำเสียจากปลาได้อีกด้วย ผมเคยทดลองให้แหนเป็ดแบบสดประมาณ 70 กก.ในบ่อขนาด 1.5 m x 3 m x 0.5m จำนวน 5 บ่อ ผลปรากฏว่าเพียงหนึ่งสัปดาห์ปลานิลกินเกลี้ยง เทียบกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป จะให้เพียงมื้อละประมาณ 1 กก. จะทยอยให้จนกว่าปลาจะไม่ขึ้นมากิน ถ้าให้มากปลากินไม่หมดอาหารจะลอยอยู่บนผิวน้ำ จนอิ่มตัวแล้วจะตกลงอยู่ใต้บ่อซึ่งปลาจะไม่กิน จนเป็นเหตุน้ำเสีย และเป็นการสิ้นเปลืองด้วย ยังดีที่ระบบของผมน้ำจะไหลวนอยู่ตลอดถึงแม้ไม่ได้ใช้ปั้มอ็อกซิเจนช่วย
ที่ผ่านมาการเลี้ยงปลานิลด้วยแหนของผมก็ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนเรื่องการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกด้วย ได้แต่ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บต่างประเทศ และตัวอย่างในวีดีโอของยูทูปเท่านั้น เนื่องจากแหล่งแหนและสถานที่เลี้ยงยังไม่มีตั้งแต่เริ่ม จะคิดเลี้ยงปลา ตอนนี้ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ควรจะเริ่มหาแหนเป็ดมาเลี้ยงก่อนที่จะเริ่มซื้อปลามาเลี้ยงกันนะครับ ผมนี่วุ่นกับการหาแหล่งแหนและทำบ่อพักอีก ทำงานไปแก้ปัญหาไปครับ ไม่ได้วางแผนหรือศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้าน มันเลยเป็นประสบการณ์ที่ดีของผม แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อยๆ อย่างเมื่อก่อนคิดจะทำบ่อเลี้ยงปลาหากลงทุนซื้ออ่างไฟเบอร์กลาสขนาด 1.5m x 3m x 1m ราคาน่าจะอยู่ที่ 6000 บาทขึ้น ผมก็เลยตัดสินใจทำบ่อปูนขึ้นมา ด้วยพื้นที่แคบขนาด 3m x 20m รถขุดก็เข้าไม่ได้ ผมเลยทำการเทพื้นแล้วก่อผนังบ่อปลาติดกับผนังรั้วเลย เลี้ยงปลามาได้สักระยะหนึ่ง ทุนเรื่องอาหารปลาหมด อย่างที่บอกไปเรื่องการทดลองเลี้ยงแหนเป็ดไป 70 กก. พอแหนหมดก็ไม่มีให้อีก ตอนนั้นเป็นช่วงฤดูฝน แหล่งที่ผมเคยไปตักมาเลี้ยงเค้าก็เอาเป็ดมากินซะเกลี้ยง พอหาเจออีกทีฝนตกหนักแค่คืนเดียวน้ำพาลงแม่น้ำหมด ผมเลยคิดทำบ่อเลี้ยงแหนเพิ่มอีกโดยต่อท่อจากบ่อเลี้ยงปลาเพื่อเอาแหนมาบำบัดน้ำเสียและแหนก็จะใช้เป็นอาหารปลา งานนี้หมดเงินอีกแล้วครับ ตอนนั้นมีทั้งบ่อปลาและบ่อแหนแล้วคิดว่ามันน่าจะลงตัวแล้ว ปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้น ปลาในบ่อหลุดมาอยู่ในบ่อแหน แหนผมก็เริ่มหมดไปเรื่อยๆ ก็เลยไม่ได้ข้อสรุปว่าเลี้ยงด้วยแหนจะใช้เวลานานกี่เดือนถึงจะโต ตลอดทั้งฤดูฝนผมไม่มีแหนให้ปลากินเลย แต่ผมก็คิดหาวิธีทำบ่อเพิ่มอีกสำหรับเลี้ยงแหน บ่อเดิมยังไงก็ไม่พอสำหรับเลี้ยงปลา และหากไปพบแหล่งแหนใหม่อีก ยังไงก็ต้องมีพื้นที่เลี้ยงให้มากกว่าเดิมให้เพียงพอต่อความต้องการของปลา และการผลิตเองขึ้นได้ โดยไม่ต้องไปหาตักจากธรรมชาติมาเพิ่ม ด้วยกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติที่ไม่แน่นอน ตอนนี้บ่อเลี้ยงแหนของผมก็มาลงตัวด้วยการใช้โครงสร้างจากไม้ไผ่ ปูบ่อด้วยพลาสติกปูบ่อ ทำบ่อวางอยู่บนพื้นดินเลย ไม่ต้องขุดดินให้เหนื่อยและเสียค่าใช้จ่ายค่าแรงงานขุดอีก
พูดถึงแต่คำว่าแหนเป็ด บางท่านอาจจะยังไม่รู้จัก เรามาทำความรู้จักแหนเป็ดกันเลยดีกว่านะ ขอดึงข้อมูลมาจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
"แหนเล็ก หรือเรียกโดยทั่วไปว่าแหนเป็ดเล็ก มีโปรตีนประมาณ 20-40% ใยประมาณ 4-6% และยังเป็นพืชที่นิยมนำไปตากแห้งทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หรือผสมในอาหารของสัตว์ เช่น อาหารของเป็ด ห่าน ปลา ไก่ นกกระทา และสุกร เป็นต้น มีผู้ศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเป็ด พบว่า ในระยะเวลา 100 วัน สามารถดูดปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ได้สูงสุดถึง 49.10% ดังนั้น จึงนิยมนำแหนเป็ดเล็กมาใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศ"
สิ่งที่ผู้เขียนสนใจก็คือเจ้าโปรตีนนี่แหละ ที่มากถึง 40% แล้วมีใครสังเกตุไหมว่าทำไมโปรตีนถึงมีค่าไม่คงที่เลยละ..???? ทำไมต้องเป็น 20-40 % ???? (ผมขอตั้งคำถามไว้ให้คิดกันต่อ และเอาไว้เป็นหัวข้อใหม่แล้วกัน)
นอกจากโปรตีนแล้วผู้เขียนก็ยังสนใจเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตด้วย เพราะอะไร??? ก็เพราะว่าความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร ถ้ามีปลาจำนวนมาก แน่นอนว่าแหนเป็ดหมดไวแน่ แต่ถ้าแหนมีมากกว่าปลา ปลากินเท่าไรก็จะไม่มีวันหมด แหนก็จะแพร่ขยายไปเรื่อยๆ จนเต็มบ่อ ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากเวลาจับปลาขึ้นมาขาย แล้วทำยังไงละถึงจะทำให้เกิดความสมดุลในห่วงโซ่อาหารแบบนี้ และจะทำยังไงถึงจะมีแหนเป็ดสำหรับเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี หากจะไปหาจากแหล่งธรรมชาติเพียงอย่างเดียวก็คงไม่สะดวกแน่เลย ในฤดูน้ำหลาก แหนก็ไหลไปกับน้ำ แต่พอเข้าสู่ฤดูแห่งความแห้งแล้ง แหนก็จะตาย เพราะฉะนั้นต้องมีการบริหารจัดการแหนและปลาควบคู่กันไปแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน ด้วยเหตุตรงนี้ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจนพบว่าแหนใช้บำบัดน้ำเสียได้ ซึ่งแหนก็คือเฟิร์นขนาดเล็ก และเฟิร์นก็ดูดของเสียที่เป็นธาตุหนักได้ดีอีกด้วย ในระบบของผมจึงมีพืชดูดสารพิษอย่างเฟิร์นด้วย นั้นก็คือผักกูด ปลูกในโฟมเลยน้ำไว้ ตอนนี้โฟมปลูกผักของผมก็ไม่เหลือแล้วปลาแทะราก ถึง ใบ และโฟมด้วยจนหมด เหลือแต่ต้นผักกูดเพียงอย่างเดียวที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำ ส่วนแหนผมก็เพิ่งจะได้มาเลี้ยงใหม่อีกทีเมื่อกลางเดือนธันวาคม 59 นี่เอง
"แหนเล็ก หรือเรียกโดยทั่วไปว่าแหนเป็ดเล็ก มีโปรตีนประมาณ 20-40% ใยประมาณ 4-6% และยังเป็นพืชที่นิยมนำไปตากแห้งทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หรือผสมในอาหารของสัตว์ เช่น อาหารของเป็ด ห่าน ปลา ไก่ นกกระทา และสุกร เป็นต้น มีผู้ศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเป็ด พบว่า ในระยะเวลา 100 วัน สามารถดูดปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ได้สูงสุดถึง 49.10% ดังนั้น จึงนิยมนำแหนเป็ดเล็กมาใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศ"
สิ่งที่ผู้เขียนสนใจก็คือเจ้าโปรตีนนี่แหละ ที่มากถึง 40% แล้วมีใครสังเกตุไหมว่าทำไมโปรตีนถึงมีค่าไม่คงที่เลยละ..???? ทำไมต้องเป็น 20-40 % ???? (ผมขอตั้งคำถามไว้ให้คิดกันต่อ และเอาไว้เป็นหัวข้อใหม่แล้วกัน)
นอกจากโปรตีนแล้วผู้เขียนก็ยังสนใจเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตด้วย เพราะอะไร??? ก็เพราะว่าความสมดุลของห่วงโซ่อาหาร ถ้ามีปลาจำนวนมาก แน่นอนว่าแหนเป็ดหมดไวแน่ แต่ถ้าแหนมีมากกว่าปลา ปลากินเท่าไรก็จะไม่มีวันหมด แหนก็จะแพร่ขยายไปเรื่อยๆ จนเต็มบ่อ ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากเวลาจับปลาขึ้นมาขาย แล้วทำยังไงละถึงจะทำให้เกิดความสมดุลในห่วงโซ่อาหารแบบนี้ และจะทำยังไงถึงจะมีแหนเป็ดสำหรับเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี หากจะไปหาจากแหล่งธรรมชาติเพียงอย่างเดียวก็คงไม่สะดวกแน่เลย ในฤดูน้ำหลาก แหนก็ไหลไปกับน้ำ แต่พอเข้าสู่ฤดูแห่งความแห้งแล้ง แหนก็จะตาย เพราะฉะนั้นต้องมีการบริหารจัดการแหนและปลาควบคู่กันไปแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน ด้วยเหตุตรงนี้ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจนพบว่าแหนใช้บำบัดน้ำเสียได้ ซึ่งแหนก็คือเฟิร์นขนาดเล็ก และเฟิร์นก็ดูดของเสียที่เป็นธาตุหนักได้ดีอีกด้วย ในระบบของผมจึงมีพืชดูดสารพิษอย่างเฟิร์นด้วย นั้นก็คือผักกูด ปลูกในโฟมเลยน้ำไว้ ตอนนี้โฟมปลูกผักของผมก็ไม่เหลือแล้วปลาแทะราก ถึง ใบ และโฟมด้วยจนหมด เหลือแต่ต้นผักกูดเพียงอย่างเดียวที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำ ส่วนแหนผมก็เพิ่งจะได้มาเลี้ยงใหม่อีกทีเมื่อกลางเดือนธันวาคม 59 นี่เอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)